7/05/2551 09:52:00 หลังเที่ยง

ปัญหาที่เริ่มต้นแก้ ตั้งแต่เด็ก

เขียนโดย VARAVEE |

 

สมองของคนนั้นเนรมิตอะไรได้ทุกอย่างในโลก แต่สิ่งแรกเราต้องเนรมิตสมองให้เขาก่อน นี่คือสิ่งสำคัญ

มีความเชื่อว่า ถ้าเราฝึกอย่างไรได้อย่างนั้น ถ้าเราฝึกแก้ปัญหา แบบสร้างสรรค์ให้เขาแต่เล็ก เขาก็จะได้สิงนั้นไป

คำถามก็คือ แล้วโจทย์เลขล่ะ สร้างสรรค์พอหรือไม่

สร้างสรรค์ครับ โจทย์เลขนี่ถือว่าเป็นสิ่งที่สร้างสรรค์

แต่ กลวิธีที่จะเอาชนะ ของผู้ใหญ่ ผู้ที่เป็นผู้รู้ ต่างหาก ที่ไม่สร้างสรรค์ อ้าววววววว

ผมว่าไว้ใน ความสามารถเชิง กลยุทธ มาก่อน ความสามารถเชิงวิเคราะห์ แต่ทั้งหลายทั้งปวงแล้ว จินตนาการต้องมาก่อน

แบบนี้นะครับ ความสามารถเชิงกลยุทธ ก็คือ การสอน สอนรูปแบบไหนก็ได้แบบนั้น ความสามารถเชิงวิเคราะห์ ก็คือ การแก้โจทย์ปัญหา ที่จะออกมาจากประสบการณ์ ในการเจอปัญหานั้นๆ ซึ่งยิ่งเจอปัญหามาก ก็จะเห็นปัญหาได้ดี นี่คือ สิ่งที่เราคิดนะครับ

แต่เราลืมไปอย่าง ในคำที่ว่า จินตนาการสำคัญกว่าการเรียนรู้ จินตนาการ จะทำให้เขา ไม่จำเป็นต้องเจอปัญหามาก แต่เขาจะสามารถใช้ ความรู้พื้นฐานเข้ามาแก้ปัญหาในข้อนั้นๆได้ โดยสามารถลดจำนวนจากประสบการณ์ที่เขาจะต้องเจอปัญหาหรือแก้ปัญหานั้น แม้ จะแก้ปัญหาได้ไม่เท่ากับประสบการณ์ แต่เขาต้องใช้จินตนาการเอา ว่า เขาจะรู้สึกมันได้อย่างไร

ที่สำคัญ เขาสามารถ เข้าถึงสิ่งที่หลากหลายได้มากกว่า

เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกครับ ที่บ้านเราขาด นัก คิด เพราะ บ้านเรา ยังใช้ หรือยังคิดว่า ใช้ประสบการณ์ในการแก้ปัญหาอยู่ และคิดว่า ประสบการณ์ สำคัญมากมาก ยิ่งมีประสบการณ์สูง ชั่วโมงบินสูง ก็จะดีกว่า คนที่มีจินตนาการดี แต่ชั่วโมงบินต่ำ เราต่างรู้ดีว่าไม่ใช่ เพราะ เมื่อเราฝึก กลยุทธมาพอประมาณ จากการเรียน ป.ตรี ฝึกการวิเคราะห์ มาพอประมาณ เราก็ยังได้เป็น นายของช่าง

เพราะฉะนั้น คนละเรื่องครับ ประสบการณ์ในการทำโจทย์แบบฝึกหัดแบบเอาเป็นเอาตาย ฝึกไปเยอะเยอะ ก็เป็นแค่ Technician ที่มีประสบการณ์เยอะมากมาก

เพราะฉะนั้นจึงอยากให้แยกให้ออกก่อนครับ ระหว่าง จินตนาการ กับ ประสบการณ์ แยกให้ออกระกว่าง กลยุทธ ที่ต้องสอน กับการวิเคราะห์ และจินตนาการที่ต้องการการบ่มเพาะ

เพราะเมื่อไร ที่ความรู้เชิงวิเคราะห์สามารถไล่ตามความสามารถเชิงกลยุทธได้ทัน ทุกอย่างจะจบ

เพราะฉะนั้นถามว่าผิดไหม ที่ให้ลูกทำโจทย์เยอะเยอะ แล้วสอนกลยุทธ คำตอบก็คือไม่ผิด

แต่ผมว่าเหนื่อย เป็นวิธีที่เหนื่อย

คนที่มีจินตนาการดี ถ้าเปรียบได้ก็ เรียนสาย บริหาร คือไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ ที่ต้องเรียน สาย Engineering แต่ สามารถ ปกครองคนสาย Engineering ได้ แต่คนที่ไม่มีจินตนาการ ก็ยังอยู่แค่ช่าง เทคนิค ไปไหนไม่ได้แม้จะมีประสบการณ์สูง ก็เดินไปไหนไม่ได้

แต่อย่างที่เคยบอกครับ

จินตนาการต้องมาแบบถูกที่กูกทางกันนะครับ

คือ ต้องให้เขาใช้จินตนาการและเชื่อมโยงกับองค์ความรู้เขาให้ได้ ในเรื่องที่อยากได้ ไม่ใช่ว่า เราไปหัด วาดรูป เพื่อให้เขาได้จินตนาการ แต่สุดท้ายก็คือไม่ได้อะไรจากจินตนาการนั้น ได้ สมาธิ ได้อย่างอื่นมาแทน

ตรงนี้ต่างหาก ที่สังคมเรากำลังละเลยมันไปครับ

เหตุที่ละเลย เพราะเราเร่งไงครับ

เร่งขึ้นไปเป็นมะม่วงจำบ่ม ไม่สุกจากต้น

คือ ในตอนที่เร่ง ถ้าเราไม่เร่ง พรวนดิน ใส่ปุ่ยธรรมชาติ ไม่ใช้ปุยเคมี ไม่ตัดกิ่งตอนกิ่ง แต่ 3-5 ปีแรก ปล่อยให้โตตามธรรมชาติ

พอโตแล้วจะให้รูปร่างที่ถูกดัดมาแต่เล็ก ขึ้นสวย เป็นลำต้น ที่แข็งแรง มันค่อนข้างยากครับ

และก็อีก 3-5 ปีแรก ถ้าใส่ปุ่ยเคมี ดินก็จะเสียอีก คือเร่งเฉพาะทาง ใส่เร่งดอก เร่งผลกัน เพื่อที่ให้ออกผลเร็ว ออกเสร็จ หรือยังไม่ออกดี ก็ เก็บ ขาย ไม่สุก ก็ใช้บ่มแกส เอา

เราก็ได้ขายมะม่วงครับ ได้ขายเหมือนกัน แต่รสชาติต่างกันแน่นอน

อย่างแรก ก็คือ เราต้องรู้ตั้งแต่การเตรียมปุ่ย ธรรรมชาติ หาปุ่ยจากสิ่งรอบตัวเพื่อให้เขา คอยตัดกิ่งตัดใบ ดัด รู้ว่ากิ่งไหนจะสัมพันธ์กับกิ่งไหน ไปทิศไหน แดดแบบไหนเขาชอบ

1 ความคิดเห็น:

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

"เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกครับ ที่บ้านเราขาด นัก คิด เพราะ บ้านเรา ยังใช้ หรือยังคิดว่า ใช้ประสบการณ์ในการแก้ปัญหาอยู่ และคิดว่า ประสบการณ์ สำคัญมากมาก ยิ่งมีประสบการณ์สูง ชั่วโมงบินสูง ก็จะดีกว่า คนที่มีจินตนาการดี แต่ชั่วโมงบินต่ำ เราต่างรู้ดีว่าไม่ใช่ เพราะ เมื่อเราฝึก กลยุทธมาพอประมาณ จากการเรียน ป.ตรี ฝึกการวิเคราะห์ มาพอประมาณ เราก็ยังได้เป็น นายของช่าง

เพราะฉะนั้น คนละเรื่องครับ ประสบการณ์ในการทำโจทย์แบบฝึกหัดแบบเอาเป็นเอาตาย ฝึกไปเยอะเยอะ ก็เป็นแค่ Technician ที่มีประสบการณ์เยอะมากมาก

เพราะฉะนั้นจึงอยากให้แยกให้ออกก่อนครับ ระหว่าง จินตนาการ กับ ประสบการณ์ แยกให้ออกระกว่าง กลยุทธ ที่ต้องสอน กับการวิเคราะห์ และจินตนาการที่ต้องการการบ่มเพาะ "

เห็นด้วยค่ะ การที่ประสบการณ์มาก อาจจะมาจากการลองผิดลองถูกมาเยอะ แต่การลองผิดลองถูกก็คือการเดา ซึ่งไม่มีตรรกะในการคิดการมองปัญหา วิเคราะห์ปัญหา

แต่อย่างไรก็ตามก็คิดว่า หากเด็กจบใหม่ มีจินตนาการและแยกแยะปัญหา มองเห็นปัญหา แต่ก็อาจจะแก้ปัญหาไม่ได้ เพราะไม่มีประสบการณ์จริงในการแก้ปัญหา หลายๆครั้งสิ่งที่คิดก็ทำไม่ได้เหมือนกัน ในความเป็นจริง จึงต้องมีทั้งสองส่วนคือ จินตนาการและประสบการณ์

แสดงความคิดเห็น

Subscribe