8/22/2551 08:55:00 ก่อนเที่ยง

ไม่มีทางลัดสำหรับการพัฒนาแชมเปี้ยน (2)

เขียนโดย VARAVEE |

ครับ การฝึกให้ลูกรอบคอบ นี่ เป็นเรื่องนะครับ เรื่องใหญ่เลย

จะใช้วิธี ปากเปียกปากแฉะ ทำเท่าไรก็ไม่ได้ผลหรอก

มาลองดูวิธีการฝึก นะครับ

โ ป ร แ ก ร ม ก า ร ฝึ ก ทั ก ษ ะ ก า ร พู ด กั บ ต น เ อ ง (S e l f T a l k)

ทักษะการพูดกับตนเอง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ซึ่งในการฝึก จะต้องฝึกทีละขั้นตอน จนสามารถใช้ปฏิบัติได้เป็นอย่างดีก่อน แล้วจึงนำทั้ง 3 ขั้นตอนมาฝึกรวมกัน ระยะเวลาในการฝึกขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละเด็ก การฝึกในช่วงแรกอาจจำเป็นต้องมีโปรแกรมการฝึกแยกจากการทำแบบฝึกหัด หลังจากนั้นจึงนำไปฝึกกับสถานการณ์การทำแบบฝึกหัดในทุก ๆ ครั้งที่ต้องการ

ความเชื่อมั่นในขณะปฏิบัติ และจำเป็นต้องฝึกจนเป็นอัตโนมัติ หมายความว่าเมื่อมีความรู้สึกต้องการความเชื่อมั่นในตนเอง ทักษะการพูดกับตนเองเกิดขึ้นโดยที่เราไม่คิดว่าจะต้องใช้ทักษะดังกล่าว เมื่อฝึกได้จนถึงขั้นเป็นอัตโนมัติ ในสถานการณ์ที่เราต้องใช้เราจะมีความเชื่อมั่นในตนเองตลอดเวลาที่เราต้องการ

ทักษะการพูดกับตนเอง ประกอบด้วย
1. ระยะผ่อนคลายด้วยด้วยการหายใจ (Relax)
2. ระยะหยุดความคิดด้วยการตามลมหายใจ (Stop)
3. ระยะพูดกับตนเองโดยใช้คำว่า “ฉันรู้ว่าฉันสามารถ..

ในโรงเรียนบางโรงเรียน หัดกันไว้ตั้งแต่อนุบาลเลยนะครับเพราะฉะนั้นใครว่ายาก นี่ลืมได้เลย อนุบาล 1 เขาก็ฝึกกันแล้ว และฝึกมาทุกวันด้วยครับ แต่อาจไม่เหมือน อาจเป็นการเรียกแบบอื่นๆ แต่ทำนองเดียวกัน เช่นอาจเรียกว่า ทำสมาธิ ใน โรงเรียนวิถีพุทธ หรือ การแผ่ความรักในโรงเรียน นีโอฮิวแมนิสต์

แต่มาดูวิธีนี้ดีกว่าแล้วกัน เพราะแบบนั้น อาจหนักไปนิด

KEY WORD : Relax, Stop, Talk

ระยะผ่อนคลายด้วยการหายใจ (Relax) โดยการหายใจอย่างสมบูรณ์แบบ

1. จะต้องให้นักกีฬานึกจินตนาการว่าปอดนั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ตามระดับบน กลาง และล่าง


2. ให้นักกีฬาพยายามหายใจจนลมเต็มส่วนล่างก่อน โดยการดึงกระบังลมลงและดันท้องพองออก

3. จากนั้นให้หายใจจนเต็มส่วนกลาง โดยการขยายช่องอกด้วยการยกส่วนซี่โครงและหน้าอกขึ้นสูงกว่าเดิม

4. จากนั้นให้นักกีฬาพยายามหายใจให้ลมเต็มส่วนบน โดยการยกอกและยกไหล่

5. ทั้ง 3 ขั้นตอนนั้นจะต้องต่อเนื่องเป็นจังหวะเดียวกัน สำหรับการฝึกช่วงแรกอาจจะแบ่งเป็นส่วน ๆ ได้

6. เมื่อเด็กสามารถทำได้ทั้ง 3 ขั้นตอนแล้ว ควรรีบฝึกทั้ง 3 ส่วนให้เป็นขั้นตอนเดียวกันโดยเร็วหลังจากนั้น ควรให้นักกีฬากลั้นลมหายใจไว้สัก 2-3 วินาที แล้วจึงหายใจออกโดยการหดท้อง ว่าให้นักกีฬาปล่อยกล้ามเนื้อทั้งหมดตามสบาย หลังจากไล่ลมหายใจออกจนหมดแล้ว

ระยะหยุดความคิดด้วยการตามลมหายใจ (Stop)


ให้ เด็ก มีความสนใจจดจ่ออยู่กับลมหายใจ เริ่มจากเมื่อลมหายใจแตะที่ปลายจมูกไหลผ่านหลอดลม ปอด ท้อง จนถึงสะดือ และไหลออกเริ่มจากสะดือ ท้อง ปอด หลอดลม และปลายจมูก พยายามให้นักกีฬารู้สึกถึงลมอุ่น ๆ ไหลผ่านในตัว ในกรณี ที่เด็ก สูญเสียความสนใจและเผลอไปคิดเรื่องอื่น ให้หยุดและกลับมานึกถึงลมหายใจต่อไป ในขั้นตอนนี้คือให้นักกีฬาคิดกับเรื่องลมหายใจเท่านั้น ไม่คิดถึงเรื่องอื่น ๆ เป็นการหยุดความคิด

ระยะพูดกับตนเอง (Talk)


ในขณะที่เราพูดกับตนเอง เด็กต้องใช้การจินตนาการภาพด้วยว่า เรากำลังทำทักษะนั้น ๆ อยู่เพื่อให้เราสามารถรับรู้ว่าเราสามารถทำได้จริง ๆ

 

 

โปรแกรมการฝึกทักษะการพูดกับตนเองรายสัปดาห์

สัปดาห์

รูปแบบการฝึก

จำนวนครั้ง วิธีการ

1-2

1. การฝึกผ่อนคลายด้วยเทคนิคการหายใจ

2. การฝึกหยุดความคิดด้วย การตามลมหายใจ

10-20

1-3 (3 ชุด)

* ฝึกหลังจากฝึกซ้อมใช้เวลาประมาณ 1-5 นาที

2-4

1. ฝึกพูดอย่างเดียวตามประโยคที่เลือกไว้

2. ขั้นบูรณการ (3 ขั้นตอน)

    2.1 Relax

   2.2 Stop

   2.3 Talk

10-20

* เลือกคำที่จะใช้พูดฝึก หลังการฝึกซ้อมใช้เวลา

ประมาณ 1 นาที ในตอนแรก และ ให้ถึง 5 นาที (ฝึกรวมกัน 20 ชุด)

5-6

1. ฝึกขั้นบูรณการ

10 ชุด

*   ก่อน WarmUp และหลัง cool down

7-8

1. ฝึกขั้นบูรณการ เพิ่มเติมให้ เด็กมีความเชื่อมั่นใน คำพูดตามตนเอง ให้เด็กตงใจกับคำพูดมากขึ้น

10 ชุด

* ฝึกด้วยตนเอง

8-10

1. ฝึกขั้นบูรณการ

10 ชุด





เอกสารอ้างอิง
วิมลมาศ ประชากุล. (2547). ผลของการฝึกทักษะการพูดกับตนเองที่มีต่อความเชื่อมั่นในตนเอง. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบันฑิต. (วิทยาศาสตร์การกีฬา: จิตวิทยาการกีฬา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

*นิสิตปริญญาเอก สาขาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา (จิตวิทยาการกีฬา)

พอดีเมื่อ 2 วันก่อน คุยกับคุณ NK และ คุณ MMTH การฝึกมาแนวเดียวกัน แต่ต่างกัน

จุดหนึ่งอาจเป็นเพราะ วุฒิภาวะ เพราะอยู่ชั้นเดียวกัน แต่อายุ ต่างกัน รอบหนึ่ง แต่อีกจุดหนึ่ง การปล่อยวาง ที่ทำได้ต่างกัน การพยายาม Guide จนเกินไปไม่ได้ทำให้ดีขึ้น เพราะ ไปไปมามามันก็เหมือน กับเราไป ชี้นำ ยิ่งในจังหวะ +4+5

มาอิงทฤษฎีกันนิดดีกว่า ไม่ค่อยอยากพูด ทฤษฎี เพราะรู้สึกว่าหนักไป แต่น่าเป็นประโยชน์

เพราะ มันเป็นเรื่องเดียวกันกับเรื่องนี้

 

บ่อยครั้งที่ เรา มักจะมองข้ามวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองของเด็ก  โดยมองบางพฤติกรรม เป็นเรื่องไร้สาระ เข่น การเชื่อมโยงองค์ความรู้ จากการพูด 1-100 ทุกวัน

อย่างไรก็ตามถ้าเรา สามารถจินตนาการเรื่องของการพูดกับตนเองของเด็กว่า

เป็นการกระทำที่สร้างสรรค์ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวของเขาเอง

เป็นการกระทำที่มุ่งสู่การเรียนรู้วิธีการคิดของตนเอง ทำให้เกิดความเข้าใจโดยแท้จริง เขาก็จะสามารถใช้การพูดออกมานี้เป็นเครื่องมือช่วยให้ เด็ก สามารถควบคุมการคิดของตนเอง และเกิดเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ทางปัญญาเพิ่มขึ้นได้ การพูดในสิ่งที่คิดกับตนเองนั้นเป็นส่วนหนึ่งของ

ทฤษฎีการเรียนรู้ของ วิก็อทสกี้ แสดงให้เห็นถึงการเรียนรู้ของตนเองและ

การได้รับการสอนโดยการศึกษาด้วยตนเองเหมาะสำหรับผู้เรียนทุกๆ รูปแบบ 

วิก็อทสกี้ (1962) เป็นนักจิตวิทยาชาวรัสเซีย วิจัย ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาการเชาวน์ปัญญา เน้นความสำคัญของวัฒนธรรมและสังคมที่มีต่อพัฒนาการเชาวน์ปัญญา โดยมีการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และสถาบันสังคมต่าง ๆ นอกจากนี้ วิก็อทสกีได้พูดถึงบทบาทของภาษาที่มีต่อพัฒนาการเชาวน์ปัญญา และ

การพูดกับตนเองในใจ (inner speech) มีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาวิก็อทสกี้ ได้ทำการวิจัย เกี่ยวกับการรู้คิด การคิด (คนคิดอย่างไร)

และสอนหรือสอนเด็กให้มีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาอย่างเต็มที่ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล การวิจัยของ วิก็อทสกี้ เรื่อง inner speech และการคิดแก้ปัญหา มีนักจิตวิทยาพุทธิปัญญานิยมหลายท่านได้นำมาทำการวิจัยต่อ

วิก็อทสกี้ มีความเชื่อและหลักการพื้นฐาน คือ พัฒนาการทางภาษาของเด็กนั้น มิได้ช่วยเหลือเด็กให้สามารถสื่อสารกับผู้อื่นให้ดีขึ้น แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ว่าจะช่วยเด็กให้คิดวางแผน แนะนำ และควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ของตนเอง

วิก็อทสกี้ กล่าวว่า “inner speech” หรืออาจแปลเป็นภาษาไทยว่า “ภาษาคิด” เป็นขบวนการที่ช่วยให้มนุษย์อธิบายจุดมุ่งหมาย หรือเป้าหมายในการทำงานและวางแผนในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตนเองต้องการ “ภาษาคิด” ช่วยให้มนุษย์เราแก้ปัญหาด้วยการคิดก่อนที่จะลงมือกระทำจริง ๆ

การวิจัย (Palincsar & Brown, 1989) พบว่า “ภาษาคิด” เกิดขึ้นมาตั้งแต่วัยเด็กและจะพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ

เมื่อเด็กมีพุทธิปัญญาที่จะแก้ปัญหาเพิ่มขึ้นดังนั้น การช่วยสอนให้เด็กใช้ “ภาษาคิด” ในการแก้ปัญหา ก็จะช่วยให้เด็กแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีการเรียนแบบ (modeling) จากผู้ใหญ่

การศึกษาการพูดกับตนเองในใจเป็นการสืบเสาะเพื่อให้เกิดความเข้าใจ เป็นบทบาทที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญ

สำหรับยุทธศาสตร์การเรียนการสอนวิธีการเรียนรู้ความคิดของตนเอง โดยเฉพาะในการเสาะแสวงเพื่อมุ่งศึกษาวิชาศิลปะ  คณิตศาสตร์การคำนวณ และความสามารถในการอ่านและเขียน เหล่านี้ต้องใช้ทักษะการพูดกับตนเองบ่อย

และมักพบว่า การพูดกับตัวเองในใจหรือใช้ภาษาคิดสามารถช่วย

ผู้เรียนในการเรียนรู้ของตนเองให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ทางปัญญาและการพัฒนาทางการคิดขึ้น

ในการศึกษาวิชาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ สิ่งที่พบเห็นอยู่บ่อยๆ ก็คือ

การให้ความสำคัญในบทบาทและคำตอบที่ถูกมากกว่า

การใส่ใจกับการคิดและการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

นักการศึกษาทางคณิตศาสตร์ผู้ที่ได้ศึกษาปัญหาพื้นฐานในการคิดวิเคราะห์วิชาคริตศาสตร์พบว่า ควรจัดให้ใช้การแก้ปัญหาและวิธีการเรียนรู้วิธีที่จะเรียนรู้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง สนับสนุนการคิดแล้วพูดออกมาดังๆ (Think a loud)

มาคุยกันต่อครับ ช่วยๆกันถามหน่อย มุขจะหมดแล้ว

 

11 ความคิดเห็น:

BJ กล่าวว่า...

กรี๊ด .. พิมพ์แล้วหายหมด

มาช่วยคุยค่ะ
วันนี้มีงานเช้า เลิกเที่ยง

เรื่อง inner speech น่าสนใจมาก
ไม่แน่ใจว่าตัวเองชอบคุยกับตัวเองในใจหรือเปล่า

รู้แต่ว่า ชอบคิดเป็นภาพในสมอง
คิดไวกว่าคำพูด

เวลาที่สมองแล่นๆ
เราจะคิดเป็นช่องๆ เหมือนการ์ตูน หรือดูหนังภาพยนตร์
เห็นภาพในสมองไปด้วย พูดไปด้วย

บางทีพูดๆ อยู่ก็กระโดดข้ามฉาก
ตัดฉากไปฉากอื่นก่อน (ที่เป็นฉากขยายให้เห็นพื้นหลังของฉากแรก)

พูดฉากที่ขยายเสร็จแล้ว ก็วกเข้ามาฉากเดิม

คนฟัง งง งวยเป็นอันมาก
ได้รับฉายาว่า พูดไม่รู้เรื่องจากคุณยาย และสามีเป็นประจำ

จนบางทีไม่ค่อยอยากพูดเลย เพราะเมื่อยปาก
ต้องใช้วิธีเขียนเอา เพราะการเขียนช่วยให้เรามีเวลาเรียบเรียงอีกที

เกี่ยวกันไหมคะนี่

เราว่ามันเกี่ยวๆ กันอยู่นะ

ไปทำงานก่อนนะคะ
หิว กลางวันนี้จะสั่ง "ราดหน้าหมูอึ๋ม" มากิน 2 ห่อ

กิน 1 ห่อไม่อิ่ม
30 บาทได้นิดเดียวเอง


ฝากสวัสดีทุกคนค่ะ

VARAVEE กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สวัสดีค่ะ

อ่านแล้วยังงงอยู่ค่ะ

พอดีตัวเองเป็นคนไม่รอบคอบ แม่คงต้องฝึกก่อนรอบคอบก่อนฝึกลูกค่ะ

VARAVEE กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เห็นด้วยกะพ่อธีร์ค่ะ ว่ามันเพิ่งเริ่มต้น
แต่อย่าเลิกเลยค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สวัสดีครับ

ผมอ่านแล้วยังไม่ค่อยกระจ่างครับ การคิดเป็นสิ่งที่ดี สรุปว่าให้คิดในใจหรือคิดออกมาดังๆครับ think a loud หมายถึงพูดออกมาเป็นเสียงหรือเปล่าครับ ตอนที่ลูกผมอยู่อนุบาล เวลาเขาทำโจทย์จะพึมพำๆไปตามที่เขาคิด ผมมักจะบอกเขาว่าให้คิดอยู่ในใจ พยายามอย่าให้หลุดออกมาเป็นเสียง เพราะมีความรู้สึกว่าการคิดในใจเป็นเทคนิคการทำงานขั้นสูงกว่า และมีสมาธิดีกว่า เป็นการสอนที่ผิดหรือเปล่าครับ

VARAVEE กล่าวว่า...

k กล่าวว่า...

สวัสดีค่ะ

อ่านแล้วยังงงอยู่ค่ะ

.....

ไม่ค้องฝึกแะไรมากครับ อาทิตย์แรก
ก็

ฝึกหายใจ

หายใจเข้า ลึกกกกกกกกกกกกก แล้วผ่อน

หัดไป วันละ 10 ครั้ง

VARAVEE กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
VARAVEE กล่าวว่า...

ม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผมอ่านแล้วยังไม่ค่อยกระจ่างครับ การคิดเป็นสิ่งที่ดี สรุปว่าให้คิดในใจหรือคิดออกมาดังๆครับ think a loud


ฝึกถูกแล้วครับ คิดในใจ ฝึกแบบนั้นแหละครับ

คราวนี้มาขยายความนะครับ

Think and Loud

จะมาทีหลังสุดครับ คือ เมื่อเขาทำถูก 100 % แบบคิดในใจ ในแบบฝึกหัดชุดนั้นแล้ว

เพื่อฝึกทักษะ การสื่อสาร

ไว้ขึ้นตอนหน้านะครับ งั้นยาวเลย Think and Lound วันจันทร์นะครับ

เพราะส่วนใหญ่ เวลาเด็กทำแบบฝึกหัด ข้อผิด เรานั่งสอน แต่เรามักลืมข้อถูก ไป.....เรื่องข้อที่ถูกนี่แหละ ที่เราจะต้องมาฝึก ด้วย

งั้น ส่วนใหญ่ จะ Lag Communicate กันน่ะครับ

คือคิดได้ แต่ไม่สามารถบอกใครได้



.....

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อยากได้เทคนิคการสอนเด็กเล็กให้ทำ Mind map ค่ะ พ่อธีร์พอมีไอเดียไม๊คะ มีแม่ถามมาในเวบค่ะ ไม่มีใครตอบ

รักเรียน กล่าวว่า...

สวัสดีค่ะตามมาอ่านด้วยคนแต่รักเรียนใช้วิธีนั่งสมาธิก่อนนอนแทนค่ะ

แสดงความคิดเห็น

Subscribe