8/05/2551 07:07:00 หลังเที่ยง

มาเป็น โค๊ชให้ลูก กันเถอะ

เขียนโดย VARAVEE |


คำว่า "Coaching" ได้มีผู้รู้หลายๆ คนให้ความหมายว่า "ผู้ฝึกสอนกีฬา" ซึ่งที่จริงแล้วผู้ที่เป็น "โค้ช (Coach)" ไม่ได้ทำหน้าที่ฝึกสอนกีฬาเพียงอย่างเดียว ดังนั้นในที่นี้จะไม่แปลความหมายของคำว่า "Coach" แต่จะใช้คำทับศัพท์ว่า "โค้ช"

การเป็นโค้ชนอกจากจะสอน ฝึก แนะนำ และช่วยเหลือผู้คนให้เรียนรู้ทักษะในการเล่แล้ว ยังต้องปรับปรุงและเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านต่างๆ (ร่างกายและจิตใจ) เพื่อให้เขาเหล่านั้นสามารถพัฒนาทักษะต่างๆ ได้ตามศักยภาพ

นอกจากนี้โค้ชยังต้องเข้าใจและเตรียมความพร้อมด้านอื่นให้ตรงกับความต้องการของนักกีฬาด้วย เช่น ด้านการศึกษา ด้านสังคม และด้านอารมณ์ เป็นต้น

บทบาทของโค้ช


  1. ผู้สอน (Instructor) เป็นผู้ชี้นำในทำกิจกรรมต่างๆ
  2. ครู (Teacher) เป็นผู้แจ้งความรู้ใหม่ ความคิดใหม่
  3. ผู้ให้กำลังใจ (Motivator) เป็นผู้สร้างแรงจูงใจในทางบวก ให้นักกีฬามีคุณภาพสูง
  4. ผู้ควบคุมกฏ (Disciplinarian) เป็นผู้กำหนดความเหมาะสมในการให้รางวัลและการลงโทษ
  5. ผู้จัดการ (Manager) เป็นผู้นำและชี้ทาง
  6. ผู้บริหาร (Administrator) เป็นผู้จัดการด้านเอกสารและการจัดการในองค์กร
  7. ผู้แทนสาธารณะ (Publicity Agent) เป็นผู้ดูแลการติดต่อกับสื่อต่าง ๆ และสาธารณะชน
  8. นักสังคมสงเคราะห์ (Social Worker) เป็นผู้ให้คำปรึกษา แนะนำ โดยเฉพาะในเวลาที่นักกีฬาต้องการ
  9. เพื่อน (Friend) เป็นผู้ที่สร้างความสัมพันธภาพที่ดีกับนักกีฬา
  10. นักวิทยาศาสตร์ (Scientist) เป็นผู้วิเคราะห์ ประเมินผล และสรุป
  11. นักเรียน (Student) เป็นผู้ที่ค้นคว้าหาความรู้โดยการฟัง คิด พูด อ่าน เขียน

เหมือน บทบาทของ ควมเป็น พ่อแม่ เลยไหมครับ ต้องมีเกือบทั้งหมดเลย

บางคนมี นั่น บางคนมีนี่

 

การสื่อสาร

เป็นกระบวนการในการส่งและรับข่าวสารระหว่างบุคคล 2 บุคคลขึ้นไป ถ้าต้องการเป็นโค้ช ที่ดี จะต้องมีการสื่อสารที่ดี

ทักษะในการสื่อสารทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างโค้ชที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงกับโค้ชที่ประสบความสำเร็จน้อย บ่อยครั้งที่นักกีฬาเข้าใจไม่ตรงกันกับที่โค้ชพยายามจะสื่อสาร และในทางกลับกันนักกีฬาไม่สามารถสื่อให้โค้ชเข้าใจได้

วัตถุประสงค์ของการสื่อสารคือ ให้ทั้งโค้ชและนักกีฬามีความเข้าใจที่ตรงกัน และได้รับประโยชน์ร่วมกัน การสื่อสารที่ดีควรจะ:

  • มีการรับส่งเนื้อหาหรือข้อมูล
  • มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจ
  • ถูกใช้ในการป้อนข้อมูลกลับ (Feedback) เพื่อช่วยในการเรียนรู้เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการสร้าง

    ผู้ฝึกสอนกีฬาต้องสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพตามสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น

  • ต้องรู้ว่าเมื่อไหร่ที่จะอธิบายให้นักกีฬารับทราบในหน้าที่ที่รับผิดชอบและต้องปฏิบัติ
  • ต้องรู้ว่าเมื่อไหร่ที่สมควรพูดกับคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง
  • ต้องรู้ว่าเมื่อไหร่ควรพูดกับเจ้าหน้าที่ สื่อ และผู้ให้การสนับสนุน

    การสื่อสารจะไม่มีประสิทธิภาพเมื่อ

  • เนื้อหาไม่ถูกต้อง
  • ภาษาพูดที่ใช้และภาษากายที่แสดงออกไม่สอดคล้องกัน
  • ผู้ฟังไม่สนใจที่จะฟัง
  • แปลความหมายผิด
  • ผู้ฟังมีอคติ รู้สึกต่อต้านขณะที่ฟัง
  • ผู้ฟังเกิดความอึดอัดเพราะไม่มีโอกาสจะพูด

    การสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพสามารถเป็นความผิดพลาดของโค้ช ของผู้เล่นหรือของทั้งสองฝ่าย ดังนั้นโค้ชควรให้ความสำคัญต่อการสื่อสารเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพในการสื่อสารและประโยชน์ของนักกีฬา


  • ปัจจัยสำคัญในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

    1. ต้องไม่เสแสร้ง                       -   โค้ชควรจะให้นักกีฬารู้จักตัวตนที่แท้จริงของเรา เช่น ฐานะทางบ้าน อาหารที่ชอบ หรือรสนิยมทางด้านดนตรี เป็นต้น

    2. ควรเป็นผู้ฟังก่อน                    -   โค้ชควรเปิดโอกาสให้นักกีฬามีโอกาสพูดก่อน

    3. ต้องเป็นสื่อสารแบบ 2 ทิศทาง   -   ทั้งโค้ชและนักกีฬาต้องมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดกัน

    4. ต้องมีความซื่อตรง                  -   เมื่อโค้ชไม่รู้ ก็ควรบอกนักกีฬาว่าไม่รู้

    5. ต้องมีความห่วงใย                   -   โค้ชจะต้องแสดงความห่วงใยในตัวนักกีฬา ไม่ใช่เฉพาะเรื่อง เท่านั้น โค้ชต้องให้ความช่วยเหลือ เอาใจใส่ในเรื่องต่างๆ ที่นักกีฬากังวล

    6. ต้องมีความสม่ำเสมอ               -   โค้ชจะต้องสื่อสารกับนักกีฬาทุกคนด้วยหลักการเดียวกัน ไม่ลำเอียง และควรจะรักษาคำพูดที่ให้ไว้กับนักกีฬา

    7. เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับนักกีฬา     -   นักกีฬาจะสะท้อนให้เห็นถึงนิสัยและวิธีการของโค้ช ถ้าโค้ชมีนิสัยกราดเกรี้ยว ขี้โกง ผู้เล่นก็มักจะมีพฤติกรรมเช่นนั้นด้วย

    8. รู้จักรับความผิดพลาด               -   โค้ชก็มีโอกาสผิดพลาด เพราะฉะนั้นโค้ชจึงไม่ควรพูดกับนักกีฬาในลักษณะที่โค้ชเป็นผู้ถูกต้องเพียงฝ่ายเดียว


    ทักษะการสื่อสารสามารถเรียนรู้และปรับปรุงได้ด้วยการฝึกฝนประจำวันโดย
  • การส่งข้อมูลทางวาจา = การพูด
  • การรับข่าวสาร = การฟัง
  • การสื่อสารโดยไม่ใช้วาจา = ภาษากาย
  • การสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ รวมถึงการสื่อสารที่มีผลสะท้อนกลับทางลบ

    การสื่อสารโดยไม่ใช้วาจา

    “การปฏิบัติพูดได้ดังกว่าคำพูด”  การสื่อสารแบบไม่ใช้วาจาจะเป็นไปตามธรรมชาติ มักจะควบคุมไม่ได้ จึงเป็นเครื่องชี้ที่เชื่อถือได้มากกว่าคำพูด การสื่อสารแบบนี้ยากแก่การแปลความหมายได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

    การสื่อสารแบบไม่ใช้คำพูดควรสอดคล้องกับการสื่อสารแบบใช้คำพูด ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้ผู้รับข้อมูลแปลความหมายไม่ถูกต้อง และโค้ชที่ดีควร “อ่าน” ข้อมูลที่ส่งแบบไม่ใช้วาจาได้ดี ไม่ว่าจะจากนักกีฬาหรือผู้ปกครอง

  • การแสดงออกทางสีหน้า (Facial Expression)
  • การแสดงออกด้วยการเคลื่อนไหวของร่างกายส่วนอื่น (Gestures and Other Bodily Movements)
  • การแสดงท่าทาง/ตำแหน่งของร่างกาย (Body Posture)
  • การสัมผัสทางร่างกาย (Body Contact/Touching)

  • ใช้สำหรับประเมินตนเอง หรืออาจจะให้ผู้อื่นๆ (โค้ช, นักกีฬา, ผู้ปกครอง) ช่วยประเมินก็ได้ รายการต่อไปนี้จะครอบคลุมทุกด้านที่เกี่ยวกับการสื่อสาร

    ให้เลือกตัวเลขที่สอดคล้องในแต่ละรายการ โดยตัวเลขแต่ละตัวมีความหมายดังนี้
    5 = เสมอ (Always)
    4 = บ่อยๆ (Often)
    3 = บางครั้ง (Occasionally)
    2 = นานๆ ครั้ง (Seldom)
    1 = ไม่เคย (Never)


    การสื่อสาร

    รายการ

    คะแนน

     

     

    +                  -

    แบบใช้วาจา

    เนื้อหามีข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

    5   4   3   2   1

     

    ข้อความ/คำสั่ง มีความแน่นอนสม่ำเสมอ

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชเรียกชื่อนักกีฬา

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชใช้ข้อความง่ายๆ ได้ใจความ

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชเน้น/สนใจในสิ่งเดียว ณ เวลาขณะนั้น

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชใช้ภาษาที่สามารถเข้าใจได้

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชย้ำและสรุปประเด็นที่สำคัญ

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชตรวจสอบความเข้าใจของนักกีฬา

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชใช้คำถามอย่างมีประสิทธิภาพ

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชใช้คำถามแบบเปิด เพื่อใช้เปิดประเด็นในการสนทนา

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชใช้วิธี ชม-ติ-ชม(Positive Sandwich)

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชให้ผลสะท้อนกลับแบบบวก (Positive Feedback)

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชให้ผลสะท้อนที่เฉพาะเจาะจง มีเป้าหมาย

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชมีความซื่อตรงเป็นที่น่าเชื่อถือ

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชมีน้ำเสียงที่ดี กังวาน ไม่แหบแห้ง

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชใช้เสียงที่ไม่น่าเบื่อ พูดด้วยจังหวะที่ดี

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชให้คำชมเชยนักกีฬาอย่างเหมาะสม

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชเสนอความคิดเห็นเพื่อนำไปสู่การปรึกษาหารือ

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชบอกนักกีฬาว่า ควรทำอะไร แทนที่จะบอกว่า อย่าทำอะไร

    5   4   3   2   1

     

    การใช้ศัพท์สัญญาณ (Cue Words)เพื่อช่วยให้การสื่อสารดีขึ้น

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชใช้รูปแบบการสอนได้เหมาะสมกับสถานะการณ์

    5   4   3   2   1

    แบบไม่ใช้วาจา

    สอดคล้องกับการสื่อสารแบบใช้วาจา

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชฟังนักกีฬา

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชใช้วิธีการสาธิตเพื่อเสริมการอธิบาย

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชแสดงความสนใจในข้อความของนักกีฬา

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชมีการแสดงออกทางสีหน้าอย่างเหมาะสม

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชยิ้มบ่อยๆ

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชมีท่าทางประกอบการพูดเป็นอย่างดี ทำให้เข้าใจมากขึ้น

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชใช้การสัมผัสร่างกายได้อย่างเหมาะสม (เช่น ตบไหล่เบาๆ)

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชแต่งตัวดี มีบุคคลิก และดูเป็นมืออาชีพ

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชดูแลสุขภาพและความสะอาดของร่างกายเป็นอย่างดี

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชมีการประสานสายตาในขณะพูด

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชมีท่าทางและบุคลิกภาพดีอยู่ตลอดเวลา

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชใช้เครื่องมือช่วยสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    5   4   3   2   1

     

    โค้ชให้ความสำคัญกับเรื่อง ความพยายาม” “ความสามารถในการเล่นและ นักกีฬามากกว่าผลแพ้-ชนะ

    5   4   3   2   1



    การประเมินผลโดยรวม

    ดีเยี่ยม (Excellent) = 150 หรือมากกว่า
    ดี (Good) = 110 – 139
    ปานกลาง (Fair) =  81 – 109
    ควรปรับปรุง (Bad) =  41 – 80
    ควรปรับปรุงอย่างยิ่ง (Very Bad) =  40 หรือน้อยกว่า

     

    ก็มีแต่พ่อแม่ เท่านั้นละครับ ที่ทำได้ ในการเป็น โค๊ช คณิตศาสตร์ ตอนเล็ก นอกนั้น อย่า หาเลยครับ ได้มาข้อ ก็ขาดข้อ ในตอนโต ว่ากันอีกเรื่อง

    แต่ตอนเด็ก ไม่ว่า จะเป็น ภราดร แทมมี่ ต๋อง ไทเกอร์วูด ซูซาน (ที่พ่อเล่นหมากรุกไม่เป็น แต่เป็น แชมปฺโลก)

    พวกนี้ พ่อทั้งนั้นครับ

    การสร้างนักกีฬา จึงต่าง จากการสร้าง นักวิชาการ

    ยิ่งถ้าเป็น นักกีฬา สายวิชาการ พ่อแม่ ครูผู้สอน ต้องเข้าใจเรื่องเหล่านี้ ได้ดี

    ครูผู้สอน ตามโรงเรียน ต้องเปลี่ยน หน้าที่ ของตนเองให้เป็น โค๊ช ให้ได้ เพราะ มีตั้ง 11 หน้าที่ ที่คุณต้องทำเพิ่ม

    ตั้งแต่การเป็น Instructor Teacher Motivator……Friend Admin Manager……

    แต่ที่ผมเห็นกัน ก็คือครู เพราะฉะนั้น ถ้า คุณ อยากให้ นักกีฬานักเรียน ของคุณในโรงเรียน สำเร็จ ให้ลูก สำเร็จประเมิน ตนเอง ก่อน ครับ ว่า

    คุณ จะเป็น แค่ ครู ที่ดี หรือ คุณ จะเป็น โค๊ชที่ดี ด้วย เพราะ ถ้าลูกได้ โค๊ชที่ดี มาเพิ่ม หนึ่งคน คุณจะเท่ากับได้ พ่อแม่มาอีก คนที่คอยช่วยคุณ

    นั่น ทำให้ ผมหัด ลูกเล่นกีฬาแต่เล็ก เพราะ ผมมองว่ามันเป็นมากกว่า การออกกำลังกาย หรือ การแพ้ชนะ

    เพราะ ครู ก็คือ ส่วนหนึ่ง ของโค๊ช เท่านั้น ยังมีอีก ตัง

    มาฝึกเป็น โค๊ชที่ดีของลูกในเรื่องวิชาการ ดีกว่าฝึกเป็นครู ที่แสนดุ และเป็นยักษ์นะครับ

     

    9 ความคิดเห็น:

    ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

    ขอบคุณค่ะ

    ขอถามเรื่องตาราง 100 ช่องค่ะ อ่านที่พ่อธีร์แนะนำให้ไปใช้ในการสอนสูตรคูณ
    สงสัยเกี่ยวกับการให้เด็กเขียนเลข 100-1
    ถ้าให้เด็กเขียนเลข 100 ที่ช่องแรกทางซ้ายสุด
    ตำแหน่งของตัวเลขแต่ละตัวก็จะเปลี่ยนไป
    จะทำให้เด็กสับสนเกี่ยวกับตำแหน่งของตัวเลขไหมคะ

    หรือว่าเด็กจะประยุกต์ได้เองว่ามันคนละอันกัน

    ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

    ขอบคุณที่เขียนเรื่องนี้ค่ะ เพราะพ่อแม่เป้นโค๊ชของลูกจริงๆ ชอบค่ะ น่าสนใจมาก

    ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

    มีคำถามค่ะ ว่าเป็นไปได้ไหมที่เราจะสอนความรู้เชิงวิเคราะห์ก่อนความรู้เชิงกลยุทธ อย่างเช่นที่โรงเรียนแรกของลูกจะสอนให้เด็กรู้แค่จำนวน 1-3 แล้วผูกเรื่องราวให้เด็กเรียนรู้ อย่างเช่นก่อนนอนกลางวัน บางทีเด็กซุกซนกระโดดเล่น คุณครูก็จะสอนคำคล้องจอง ลูกเคยท่องให้ฟัง จำได้คร่าวๆ ประมาณ ว่า มีลิง 3 ตัวกระโดดเล่นซุกซน แล้วหกล้มไป 1 ตัว เหลือลิง 2 ตัว คุณแม่พาลิงที่ล้มไปหาหมอ หมอบอกไม่ไห้กระโดดเล่นบนที่นอน เด็กๆ ท่องกันก่อนนอน
    ตอนแรกก็รู้สึกๆ แต่ว่าคุณครูต้องการสอนไม่ให้กระโดดเล่น ฟังไปฟังมา คุณครูสอนบวกลบเลขด้วย โดยที่เด็กยังไม่ได้เรียนว่า 3-2 = 1

    อย่างงี้ถือว่าโรงเรียนสอนการวิเคราะห์ก่อนกลยุทธ ไหมคะ

    พ่อธีร์ช่วยขยายความด้วยนะคะ

    ไปประชุมก่อนแล้วจะกลับมาคุยต่อค่ะ

    VARAVEE กล่าวว่า...

    ไม่ครับ ไม่ได้สอนก่อน กลยุทธอยู่ดี

    เพราะ เด็ก ตอ้งรู้ 1 2 3 ก่อน ถูกไหมครับ

    123 คือ กลยุทธที่เด็กเอาไปใช้วิเคราะห์

    ทำไมผมถึงมักพูดเรื่องนี้ คือ ปัจจุบัน ผปค มักจะละเลย การวิเคราะห์ จะว่าละเลยก็ไม่ถูก

    แต่มักจะใช้ กลยุทธ ขั้นสูงกว่า มาทำการ แก้ปัญหา

    โดยที่การวิเคราะห์ ในระดับนั้น ยังไม่แน่นเพียงพอ

    โดยจะข้ามไป โดยอนุมานว่า เขาเข้าใจ เข้าใจเนื่องจากทำได้ เนื่องจากคำตอบมักถูก

    และอีกกลุ่มหนึ่ง ก็จะสอน ความรู้เชิงวิเคราะห์ มากไป จน ลืมไป ว่า กลยุทธ นั้น ยังไม่คล่อง
    กลุ่มนี้ ก็จะ ประมาณ บวกลบเลขในมจไม่ได้ เอาถูกต้อง อย่างเดียว เน้นวิเคราะห์

    ประมาณ ลูกนับนิ้วแต่ทำถูก แต่เสียเวลา ในการทำโจทย์

    กลุ่มหลังนี่ ก็็จะทำให้ไม่อยากทำโจทย์ ที่ัตัวเลขเยอะเยอะ และขาดโอกาสไปอีก

    หรือไม่ก็ บวกลบเลขไม่คล่อง ขึ้นคูณ คูณไม่คล่อง ขึ้นหาร ที่เห็นกันอยู่ทั่วไป

    เพราะฉะนั้น มันจะไปด้วยกันอย่างพอเหมาะ

    เรียนเลยไปสักหน่อย ทำให้ ทำข้อสอบวิเคราะห์ได้ดี

    แต่เมื่อเรียนกลยุทธ ไป เยอะเกิน จะทำให้ใช้ กลยุทธ มาตอบแทนวิเคราะห์

    เพราะฉะนั้นประเด็น จะอยู่ที่ เมื่อไร จะขึ้น กลยุทธใหม่เพื่อให้เขาใช้ มากกว่าที่จะไล่กลยุทธทั้งหมดก่อน

    เรื่องนี้ยาว

    เพราะ ในบางที การสอนลูกที่เล็กมากมาก มันเข้าการวิเคราะห์ไม่ได้เลย

    เพราะ เขาจะไม่เข้าใจ

    มันก็เลยต้องสอนกลยุทธที่สามารถสอนได้ง่าย กว่า

    แต่เมื่อไร ที่ เขาพอที่จะเข้าใจ ภาษาบ้างแล้ว สามารถ สื่อสาร อย่างน้อย 2 ชั้น 3 ชั้น ตรงนี้เราจะเริ่มรู้ว่า เราต้องหยุดกลยุทธ แล้วสอนวิเคราะห์แทน หรือ ไปสอนวิเคราะห์มาจากทางอื่น เช่นแบบฝึกหัดเชาวน์

    งงไหมนี่ ครับ

    เพราะ เมื่อไรที่เราสอนเลยไปถึงคูณ หรือหาร เศษส่วนหรืออะไรก็ตาม เลยตั้งแต่เด็ก

    ยังไงก็ตามเราก็ยังมีความจำเป็นที่เขาต้องเข้าใจว่า

    ซื้อขนม 3 ชิ้น ชิ้นละ 5 บาท มาจาก 5+5+5

    มากกว่า 3*5

    แต่ ส่วนใหญ่ พอสอนเลยไปแล้ว

    จะใช้ 3*5 เลย และชี้ให้เขาเห็นเลยว่า นี่คือ คูณ

    ซึ่งในขณะนั้น เด็ก จะคิดเป็นบวก อยู่ เพราะมันจะไล่มากับ รร ที่เรียน บวกลบอยู่

    อะไรพรรค์นี้แหละครับ

    VARAVEE กล่าวว่า...

    สำหรับ คำถามแรก

    เขาไม่งง หรอกครับ

    เขาจะจำเป็นภาพไว้ และเขาจะไล่ 1 2 3

    และเขาจะเลือกที่ จะตอบเรา ลองดูก็ได้ครับ หัดไม่เกิน 1 อาทิตย์

    ลูกจะจำ ภาพได้หมดเลย

    ภาพของสูตรคูณ และเขาจะสามารถตอบได้ว่า

    2*20 เท่ากับอะไร
    4*15
    5*13 เท่ากับอะไร โดยไม่ใช้สูตรคูณเลย

    เพราะ เขาจำมันเป็นภาพ แต่ตอนแรกแรก อาจจะช้าหน่อย

    เพราะเขาจะนั่งระบายสี แต่สักพัก 2 อาทิตย์ ตำแหน่ง เขาจะถูกต้อง มากขึ้น

    VARAVEE กล่าวว่า...

    และเขาจะรู้เสมอว่า คูณ คือการบวก เพราะมันจะไล่มา

    ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

    พยายามจะเข้าใจค่ะ เพราะเชื่อในประโยคที่ว่า คนจะเข้าใจสิ่งที่พยายามจะเข้าใจ และจะไม่เข้าใจสิ่งที่ไม่พยายามจะเข้าใจ

    ขอถามต่อค่ะ

    แล้วความรู้เชิงวิเคราะห์จะนำไปสู่จินตนาการไมคะ

    หรือมันคนละเรื่องกัน

    VARAVEE กล่าวว่า...

    เรื่องเดียวกันครับ ความรู้เชิงวิเคราะห์ จะก่อให้เกิดจินตนาการ

    ยกตัวอย่างง่ายๆ

    สมมติเอาข้อสอบง่ายๆ

    ให้กับเด็ก ป.1

    3*4 นึกถึงอะไร

    เด็กที่เรียน กลยุทธ เยอะเกิน จะนึกถึงทันที ว่า 12

    เด็กที่ เรียน ไม่เกิน อาจจะนึกถึง ขา ของ เต่า 3 ตัว มารวมกัน

    หรือง่ายๆไปกว่านั้น

    เด็กที่ ถูกสอน
    แบบนี้นะครับ

    มี ปลาเงิน 5 ตัว ปลาทอง 3 ตัว รวมกันเป็นเท่าไร

    เด็กถูกสอนให้ พิจารณา คำว่า รวมกัน พิจารณา ที่ภาษาเลยว่า ถ้า เห็นคำว่า รวมกัน ต้องบวก


    มี ปลาเงิน 5 ตัว มี ปลาทอง 3 ตัว มีปลาเงิน รวมทั้งหมดกี่ตัว

    เด็ก ก็จะเอาไปบวก ทันที

    เพราะเด็กอ่านว่า รวมกันทั้งหมด เด็กไม่เห็น ว่ามีปลาเงินกี่ตัวและไม่พิจารณาคำว่า ปลาเงิน แต่จะพิจารณา คำว่า รวมกัน

    และ่เด็กเข้าใจว่า โจทย์สั่ง ให้รวมกัน
    ทำนองนี้

    เพราะ เรามักสอนว่า ถ้าถามว่ารวมกัน ก็ให้เอาไปบวก ทำนองนี้

    เดี๋ยวหาโจทย์อีกดีกว่า

    โจทย์ลักษณะนี้เยอะ ต้องผ่านขึ้นไป อย่างแข็งแรง โดยอุปกรณ์ที่เหมาะสม

    ที่เลือกมาใช้ อาจใช้ วาดรูป ใช่ลูกปัด ใช้ กระเุมใช้เงิน

    แต่ให้ใช้อุปกรณ์เสมอจนแน่ใจ ว่า เขาไม่ติดกับคำใดคำหนึ่งในโจทย์

    อะไรพรรค์นี้ครับ

    ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

    ขอบคุณค่ะ ขอเอาคำตอบของพ่อธีร์กลับไปย่อยก่อนนะคะ

    แสดงความคิดเห็น

    Subscribe