8/01/2551 09:43:00 ก่อนเที่ยง

ตัวอย่างของ Number Sense

เขียนโดย VARAVEE |

ลองดูนะครับ ข้อนี้

คือตัวอย่างครับ

ถ้าใครเคยจำวิธีตรวจคำตอบได้ใน บอรด รักลูกนะครับ

เด็กจะมองเห็นว่า จำนวน ทั้ง 4 ต่างกัน อย่างไร จากวิธีตรวจคำตอบ

แต่เด็กที่ไม่เคยตรวจคำตอบ จะมองไม่เห็นเลยว่า เลข ทั้ง 4 มีความต่างกันอย่างไร นอกจากมองได้แค่เป็นตัวเลข

 

2

 

ข้อนี้ จริงๆแล้วมันมีหลายคำตอบ อันดับแรก ก็คือ ข้อ ค. 418 เป็นเลขคู่ อันนี้จะเป็นคำตอบธรรมดา ถูกไหม ถูก

แต่ลูกผมบอกว่า 418 เป็นเลข คู่ และ 723 ผลบวก ได้ 12 ในขณะที่ ข้ออื่น ได้ 13 ไม่ว่า จะเป็น 265  355  418

เพราะฉะนั้น ข้อนี้ 2 คำตอบ

ที่เรียกว่า Number Sense เพราะเขาจะเห็น สิ่งที่ลึกได้มากกว่า ที่เรา มองไม่เห็น

ลุยเลยยยยยยยยย

2

3

24 ความคิดเห็น:

พ่อน้องพลอย กล่าวว่า...

หวัดดีครับพ่อธีร์

โจทย์ข้อนี้ คำถามค่อนข้างเป็นปลายเปิด และ ตีความได้เยอะนะครับ

"ข้อใดแตกต่างจากข้ออื่น"

ถ้าคำถามนี้ให้ระบุเหตุผลที่ตอบด้วย และ ไม่fixว่าคำตอบไหนถูก จะเป็นคำถามที่ดีมาก เพราะ เด็กจะได้ฝึกการสังเกต และ หาเหตุผลมาอธิบายสิ่งที่เด็กคิด

เช่น นอกจากตอบว่า 418 ที่เป็นเลขคู่ตัวเดียวในนั้น
(ผมเดาว่า ถ้าให้เลือกว่าตัวไหนที่คนเขียนโจทย์คิดว่าน่าจะเป็นคำตอบ ก็คงเป็นข้อนี้แหล่ะ)

หรือ 723 ที่ผลบวกเลขโดดต่างจากตัวอื่น (อาจใช้เหตุผลว่าตัวนี้ หารด้วย3ลงตัวเพียงตัวเดียวก็ได้)

เราอาจตอบได้อีกว่า 355 เพราะ มีเลขโดดซ้ำ คือ 5 ในขณะที่ตัวอื่นไม่มีเลขโดดซ้ำเลย

และ เราอาจตอบอีกว่า 265 เพราะ เลขหลักที่สอง (6) มากกว่าหลักที่สาม(5)ในขณะที่ตัวอื่นมันน้อยกว่าหรือเท่ากัน

นอกจากนั้นยังมีเหตุผลอีกร้อยแปดที่คิดยังไงก็ไม่น่าจะผิด เช่น

เลือก 418 เพราะ เลขโดดหลักร้อยและเลขโดดหลักหน่วยไม่ใช่จำนวนเฉพาะ

เลือก 723 เพราะ ผลคูณของเลขโดดหลักสิบกับเลขโดดหลักหน่วยได้น้อยกว่าเลขโดดหลักร้อย ส่วนตัวอื่นมันมากกว่าทั้งนั้น เป็นต้น

ถ้าคำถามมันกว้างแบบนี้
คำตอบก็ควรจะเปิดกว้างด้วยใช่ไหมครับ

ไม่รู้ว่าแบบนี้เรียกว่า number senseได้หรือเปล่าครับ

VARAVEE กล่าวว่า...

ใช่ครับ คือ คำถามแบบนี้แหละ ที่เราจะห่างหายไป ในการสอนลูกทำแบบฝึกหัด ที่ โรงเรียน

คือคำถาม ที่มีลักษณะที่ถูกหมด แล้วแต่ แต่ที่ตอบต้องมีเหตุผลในการกำกับ

และยากมากมากเพราะ เขาจะไม่ยอมบอกเหตุผลของเขา ถ้าสอนในวัยที่ไม่เหมาะสม

เพราะฉะนั้น คำตอบลักษณะเหล่านี้ แหละครับ คือสิ่ง ที่ เราเรียกกันว่า จินตนาการในคำตอบ

คือ คำตอบ ไม่ผิด แต่ เป็นคำตอบ ทั่วๆไป จากเด็กในแต่ละวัย

และนี่คือ ความสวยงามของวิชา คณิตศาสตร์ ใช่ไหมครับ

แน่นอน โจทย์ ปัญหาปลายปิด ต้องเรียน แต่ โจทย์ ปลายเปิด ใครล่ะ จะเป็นคนสอน

ใครล่ะ จะเป็นคนชี้ให้เขาเห็น ว่ามีอยู่มากมายในคำตอบ และกลายเป็น คำตอบข้อนี้ ถูกทุกข้อเลย

ถ้าเราเอาแต่ มัวแต่มุ่งมั่นทำโจทย์ และ สอน ให้เขาแก้โจทย์ ยากยาก

ในลักษณะ ต้อง ถูก .....ต้องเหมือน ครู ถึงถูก

สนุกดี ครับ สอนลูก

ลูกคุณหมอเก่งจังเลยครับ L G ก็จบ ป.6 แล้ว

ชื่นใจแทนเลยครัีบ

พ่อน้องพลอย กล่าวว่า...

ขอบคุณครับคุณพ่อธีร์

แต่ตอนนี้ผมไม่ค่อย"ชื่นใจ"กับระบบ"ครูนั่งมอง"เท่าไหร่นัก หลังจากมีอะไรให้หงุดหงิดใจหลายทีแล้ว ก็มาเจอดีอีกจนได้

คือ วันก่อน มีจนท.ศูนย์"ครูนั่งมอง"จากส่วนกลางติดต่อเข้ามาว่าจะมาสัมภาษณ์ผู้ปกครองกับลูกสาวที่ศูนย์ที่ลูกสาวผมเรียนอยู่

แต่เอาเข้าจริงๆกลับกลายเป็นว่า เขามาประเมินลูกสาวผมอย่างละเอียดยิบเลย(ผมอยากจะเรียกว่าจับผิดมากกว่า)

คือ เขามายืนถ่ายวีดิโอลูกสาวผม ตอนนั่งทำข้อสอบที่ศูนย์ ตั้งแต่เริ่มจับเวลาจนกระทั่งทำข้อสอบเสร็จ และ ก็มานั่งจ้องเอาๆ จนลูกสาวผมเขาอึดอัดและดูเกร็งๆไปเลย

เสร็จแล้วเขาก็มาfeedbackให้ผมฟังว่า เรื่อง เวลา กับ ความถูกต้องน่ะไม่มีปัญหา แต่ที่มีปัญหา คือ ลูกสาวผมชอบทำโจทย์"ลัดขั้นตอน"เกินไป!!! แล้วก็ให้แบบฝึกหัดชุดที่เคยทำผ่านไปแล้ว กลับมาแก้ใหม่ให้ถูกต้องอีกปึกนึง

คือ ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า เขาต้องการให้ลูกสาวผมทำตามขั้นตอนของเขา 1 2 3 4 เป๊ะๆ ตามระบบที่เขา setเอาไว้อย่างดี

ในขณะที่ผมจะสอนลูกสาวผมเสมอว่า โจทย์คณิตศาสตร์ข้อนึง มันไม่ได้มีวิธีทำเพียงอย่างเดียว ให้ลองทำหลายๆวิธี แล้วเลือกวิธีที่เราถนัดที่สุด เร็วที่สุด ง่ายที่สุด

บางข้อที่โจทย์ไม่ได้บอกให้แสดงวิธีทำ ลูกสาวผมก็เลยมักคิดในใจแล้วตอบเลย หรือไม่ก็ ทดเลขที่โจทย์ตามที่เขาถนัด บางทีก็ทำวิธีที่ต่างกับเขา แต่ได้คำตอบที่ถูกต้อง แถมยังเร็วกว่าและ ง่ายกว่าวิธีของเขาเยอะ ซึ่งผมมองว่ามันเป็นเรื่องธรรมดามากทางคณิตศาสตร์ แต่ทางนั้นเขาไม่ค่อยชอบเท่าไหร่

ผมก็เลยขอดูต่ออีกซักพักว่า พอlevelยากๆขึ้นไป มันจะยังมีปัญหาแบบนี้หรือเปล่า ถ้ายังเป็นแบบนี้อยู่คงต้องขอบายล่ะครับ

คือ กฎ กติกาของเขา นี่เราก็ต้องยอมรับ เพราะ เรายังอยู่ในระบบของเขา แต่ถ้าระบบมันทำให้หลักการของเราบิดเบี้ยวเกินไป เราก็ควรจะออกจากระบบนั้นดีกว่า
เพราะ สำหรับผม จะให้ความสำคํญกับ "คน" คือ ตัวลูกสาวผมเองที่เป็นปัจเจกชน มากกว่า"ระบบ"ที่ใช้กับคนส่วนมาก

ขอโทษนะครับที่บ่นอะไรมาก็ไม่รู้ตั้งเยอะ
เห็นด้วยกับพ่อธีร์ครับ ว่าไม่จำเป็นต้องเหมือนครู ถึงจะถูกเสมอไป (เด็กๆนี่ผมชอบจับผิดครูด้วยซ้ำ เฮ้อ!นิสัยไม่ดีเลยเรา)

สอนลูกเอง สนุกจริงๆครับ... ขอบอก

VARAVEE กล่าวว่า...

เหตุการณ์นี้่ ไม่ได้เพิ่งเกิดนะครับ สำหรับเด็กเก่งอย่างลูกคุณหมอ นี่

มีเด็ก ฟิลิปปินส์ คนหนึ่ง อยู่ ป.4 ถ้าจำไม่ผิดนะครับ จบ ชั้นสูงสุด ของ Kumon

นี่ออกมาเป็น คลิปกันเลย ว่า อัจฉริยะ เกิดขึ้นจาก Kumoon

ผมนั่งนึกเลยว่า ในความจริงแล้ว

เขาสอน ความรู้เชิง กลยุทธ จบ แต่เขาปราศจาก การสอน ความรู้เชิงวิเคราะห์

และกว่า ความรู้เชิงวิเคราะห์ จะไล่ตาม ความรู้เชิงกลยุทธได้ทัน ซึ่งจะเกิดตามวุฒิภาวะในแต่ละช่วง

จะทำยังไง

คือ เขาจะพยายาม Init Algorithm ลงไปแต่เขาลืมไปอย่างว่า เด็ก น่ะ ความสามารถมากกว่า ที่เขาคิดเยอะ

เพราะไม่งั้น ไม่มาถึง L G ได้ใน ตอน 6 ขวบ

มันเลยสิ่งที่เราจะสร้างเรื่องวินัยที่เขาบอกมาแล้ว เพราะ ถ้าเอาจริงๆ ลูกสาวหมอ ก็น่าจะได้ เป็นเด็กที่อาจจะอายุน้อยที่สุด ของ Kumon ประเทศไทยที่สามารถจบ เพราะเท่าที่รู้มา ก็คือด็ก ป.6 ผู้ชาย

ถ้า อีก 11 Level Level ละปี นี่ จบ ป.ตรี เลย

คำถามคือ จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องใช้ ความรู้เชิงกลยุทธ เยอะขนาดนั้น ในขณะที่ความรู้เชิงวิเคราะห์ไล่ไปไม่ทัน

เพราะกว่าที่ความรู้เชิงวิเคราะห์จะไล่ตามความรู้เชิงกลยุทธทัน

นี่ ยิ่งไล่ห่าง มากขึ้นมากขึ้น

VARAVEE กล่าวว่า...

และอีกอย่าง ลูกคุณหมอ กับลูกผม อยู่ในสถานะใกล้เคียงกันเลย คือ เป็นเด็ก ที่เรียนก่อน เกณฑ์

1 ปี นี่ เด็กต่างกันมากมากเลย

ในขณะที่เด็ก ป.1 คนอื่น 7 ขวบ

ได้เท่านี้นะครับสุดยอดมากมากเลย

เพราะ ถ้าดูกันจริงๆก็ Level G ในตอน อนุบาล 3 ด้วยซ้ำ

ซึ่งแน่นอน ศูนย์ Kumon ไม่ค่อยเจอหรอก

เพราะแค่จับดินสอ บวกลบคูณหาร เลข 3 หลัก 100-200 ข้อ 3-4 นาที อ.2 นี่

ถ้าพ่อแม่ไม่มีความรู้ เรื่อง พัฒนาการของเด็กดีพอ นี่ ไม่มีทางเลย ที่จะทำได้

คือความรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ เป็นเรื่องรองด้วยซ้ำ เรื่องพัฒนาการ นี่แหละ ทำให้ทั้งกล้ามเนื่้อมือกล้ามเนื้อมัดเล็ก สมาธิ

เพราะผมเชื่อว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ของน้องพลอย ไม่น่าจะได้มาจากการเขียนอย่างเดียว

พ่อน้องพลอย กล่าวว่า...

หวัดดี(อีกครั้ง)ครับพ่อธีร์

เรื่องลูกสาวพ่อธีร์เรียนเร็วนี่เหมือนกันเลยครับ
เด็กต่างกันปีนึงนี่มันมีอะไรต่างกันค่อนข้างเยอะ
คุณครูเขาจะpassชั้นลูกสาวผมอีก คราวนี้ผมเลยไม่ยอมแล้ว เพราะ วุฒิภาวะเขายังต่างกับพี่ๆเยอะ แถมยังตัวเล็กกะเปี๊ยกเดียวเลยต้องขอร้องครูเขาไว้

เรื่อง"ครูนั่งมอง" สงสัยข้อมูลของพ่อธีร์จะเก่าแล้วครับ แหะ แหะ
คือ ตอนนี้ เด็กๆที่นี่เขายิ่งมายิ่งอายุน้อยลงเรื่อยๆแล้วครับ

ล่าสุดเด็กอินโดนีเซีย อายุ 6ขวบกว่าๆก็เป็นcompleterแล้ว ไม่รู้ทำได้ไง (เห็นบอกว่าเรียนตั้งแต่อายุ1ขวบกว่า!!!)

ส่วนเด็กไทยนี่ก็ไม่เบา เดือนเม.ย.ที่ผ่านมามีเด็กป.4คนนึงก็เพิ่งจบ level Q ไปหมาดๆ นับเป็นเด็กไทยที่อายุน้อยสุดในตอนนี้ (เด็กคนนี้เขามี blogส่วนตัวที่เขาทำเองเหมือนพ่อธีร์เลย ลองเข้าไปอ่านประวัติเขาแล้วสนุกดี มีประวัติได้รางวัลทางคณิตศาสตร์ยาวเป็นหางว่าว ทั้งเหรียญทองสสวท.สมาคมคณิตศาสตร์ ฯลฯ ลองไปหาดูนะครับ)

แต่ยังครับ ยังมีที่น่าตกใจกว่านี้
ผมเพิ่งดูตาราง top ten ของเด็กที่นี่เมื่อเม.ย.ที่ผ่านมา มีเด็กอนุบาล2คนนึง (ตอนนี้คงขึ้นอนุบาล3แล้ว)ได้ที่1 ของระดับชั้นโดยที่อยู่ level H30!!!
ซึ่งมันใกล้เคียงของเด็กม.2เลยนะนั่น

ถ้าเขาไม่ได้พิมพ์ผิดนะครับ ผมว่าภายใน 1-2 ปีนี้ เราอาจจะได้เด็กที่อายุไม่ถึง 7 ขวบที่จบ completerก็เป็นได้

เทียบกับลูกสาวผมแล้ว จะเห็นได้เลยว่ายังห่างไกลกันเยอะครับ และ ผมเองก็ไม่ได้คาดหวังให้ลูกสาวผมจบ completerหรอกครับ (ตัวผมเองคงทนไม่ได้ซะก่อน)คือ ไม่ได้เชื่อมั่นในระบบเขาขนาดนั้น

(อ้อ ! ตอนนี้เขาลดระดับที่จบ completerเป็น level O แล้วครับ และ เห็นบอกว่าเขาปรับให้มันง่ายลงด้วย)

เรื่องกล้ามเนื้อมือลูกสาวผมก็ไม่ได้ฝึกพิเศษอะไรเลยครับ ก็ให้เขาปั้นดินน้ำมัน ระบายสีไม้ สีเทียนธรรมดานี่แหล่ะครับ เรื่องเขียนนี่ไม่ค่อยได้ฝึก เพียงแค่เขียนตัวเลข0-9 กับ ก-ฮ และ A-Zได้ก็ดีใจมากแล้ว

ตอนมาที่เริ่มเรียน"ครูนั่งมอง"เม.ย.ปีที่แล้วก็เลยโดนเริ่มที่ระดับต่ำสุดของเขา(7A) เพราะ เขาบอกว่า กล้ามเนื้อมือไม่แข็งแรง ลากเส้นยังไม่ตรง ลายเส้นไม่สม่ำเสมออะไรแบบนี้ล่ะครับ ตอนนั้นเขาเริ่มเขียนตัวเลขได้แล้วแต่ไม่สวย (ตอนนี้ก็ยังไม่สวย แต่เขียนตัวเล็กลงได้แล้ว)

ถึงตอนนี้ผ่านมา 1 ปี ถามว่าเขาได้อะไรจากตรงนั้นบ้าง ผมก็คงต้องให้เครดิตเขาพอสมควรครับ เรื่องการฝึกเป็นขั้นเป็นตอนในเด็กเล็กของเขานี่ผมว่าก็ใช้ได้นะครับ

อย่างที่คุณพ่อธีร์เคยแนะนำเรื่องการนับลูกปัด วางเบี้ยตัวเลข เขียนตาราง100ช่องนี่ "ครูนั่งมอง"เขาก็มีหมดเลย แต่เขาจะมาในรูปแบบ "number board" cardตัวเลข สมุดฝึกลากเส้น เขียนตัวเลข ท่องตัวเลขปากเปล่า ตารางเลข100ช่องเขาก็มีให้ทำหลายเล่มเลย มีcardสูตรคูณด้วย ซึ่งสำหรับเด็กเล็กผมว่ามันก็okระดับนึงเลยครับ

แต่ปัญหา มันอยู่ตรงที่หลังจากเด็กเขาเริ่มadvanceขึ้นนั่นแหล่ะครับ ที่ลำพังแค่การทำโจทย์เร็วๆ คล่องๆ ให้ถูกต้องหมดในเวลาที่กำหนดมันไม่สำคัญเท่ากับการคิดแบบวิเคราะห์อย่างที่พ่อธีร์ว่าจริงๆนั่นแหล่ะครับ

VARAVEE กล่าวว่า...

........แต่ยังครับ ยังมีที่น่าตกใจกว่านี้
ผมเพิ่งดูตาราง top ten ของเด็กที่นี่เมื่อเม.ย.ที่ผ่านมา มีเด็กอนุบาล2คนนึง (ตอนนี้คงขึ้นอนุบาล3แล้ว)ได้ที่1 ของระดับชั้นโดยที่อยู่ level H30!!!
ซึ่งมันใกล้เคียงของเด็กม.2เลยนะนั่น
.............


อายุไงครับ คุณหมอ 1 ปี ที่ต่างกัน คือเวลาดู ข้อมูลอาจจะต้องดูด้วยอีกว่า โรงเรียนอะไรอีกนะครับ

เพราะโรงเรียนบางโรงเรียน มี อนุบาล แค่อนุบาล 2 แล้วขึ้น ป.1 เลย เช่น รร ประชานิเวศน์ รร พญาไท

แต่นะครับ ยังไงก็ตาม อายุ ขนาด ป1 ทำ ได้ ประมาณ ม.1ม.2 ได้นี่ เก่งมากมาก ครับ

ถ้าลูกคุณหมอ อยู่โรงเรียนที่มี อนุบาล 2 ปี แล้ว ไม่ให้เลื่อนชั้น ลูกคุณหมอก็อาจอยู่ในข่ายนั้นและอาจมากกว่าก็ได้

แต่ ความจำเป็นต้องไปถึงขนาดนั้นหรือเปล่า นี่สิ

เด็กบางคน อาจจะจำเป็น เพราะเป็นเด็กที่มีความสามารถพิเศษ เพราะต้องการการต่อยอดขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งในเมืองไทยไม่มีแบบฝึกหัด เสริฟให้

คือความจำเป็นสำหรับเด็กกลุ่มหนึ่งนี่มีแน่แน่ครับ

การเรียนเลขแบบญี่ปุ่น มีลักษณะคล้ายๆกันน่ะครับ ไม่ว่า จะเป็น คุมอง เลข 100 ช่อง วางเบี้ย วางหมากโกะ

แต่เนื่องจาก คุมอง ได้รับการพัฒนาในเชิงพาณิชย์ดีที่สุด แต่บอกไม่ได้ว่านั่นคือ คณิตศาสตร์ ซึ่งคนออกแบบรู้ดี

มันคงต้องเริ่ม กลับมาว่า ที่ นาย คุมอง ออกแบบมาเพื่อให้ลูกเขา เขามี ความคิดอย่างไร

จริงไหมครับ

เขามีความคิดว่า จะทำไงให้ลูกของเขา ที่อยู่ ป.6 โดยเขาปล่อยปะละเลยในวิชาเลขไป

เพราะนายคุมองเป็นครูสอนเลข และไม่มีเวลามาสอนลูก

จึงพยายามหาวิธีสอนลูก

โดยใช้ วิธี ทำซ้ำ เพื่อ ย้ำ กลยุทธให้เกิดขึ้น

โดยทำไป เพื่อให้ไปเรียนต่อ ในช่วงการเรียน เพื่อให้เรียนในห้องได้อย่างไม่มีปัญหาในการเรียน

แนวความคิดคือ จัดการ เคลียร์ เรื่องปัญหาเกี่ยว กับ Operator ทั้งหมดก่อน

ด้วยกลยุทธ ทำซ้ำ ซึ่งไม่ผิดเพราะยืนยันเลยไม่ว่า จะเป็ จินตคณิต เลข 100 ช่อง พวกนี้มาจากญี่ปุ่นและเขาทำเลข 100 ข้อกันนี่ 1-3 นาที ไม่เกินนี้ในทุกุทกวัน

ประเด็นที่ต่างกันคือ แบบอื่น เขาทำเพื่อเรียกสมาธิ ก่อนเข้าบทเรียนในวิชาเลข แต่คุมอง จะเป็นการเรียนก่อนแล้วเลยขึ้นไป

ไวมาเล่าต่อ แต่ผมคงเล่าไม่ดีเท่า คุณหมอแน่แน่

พ่อน้องพลอย กล่าวว่า...

ผมลองเหลือบขึ้นไปดูหัวข้อเรื่องของพ่อธีร์แล้วรู้สึกผิดเลย เพราะ จริงๆมันเป็นเรื่อง number sense

แต่ผมดันมาชวนพ่อธีร์ออกนอกเรื่องไปไกล ต้องขอโทษด้วยนะครับ ไม่งั้นคนอื่นที่เข้ามาอ่านเขาจะงงว่ามันคุยอะไรกันอยู่ และจะเสียประโยชน์ได้ คงต้องขอยุติไว้แค่นี้ก่อน

ทั้งที่จริงๆ ยังมีเรื่องที่อยากคุยอีกเยอะ แต่ถ้าจะให้คุยกันเรื่อง"ครูนั่งมอง" สงสัยท่าจะเรื่องยาว คุยกัน 3 วันก็ไม่จบ

เอาเรื่อง number sense ต่อดีกว่าครับพ่อธีร์
ขอสารภาพจริงๆว่าผมเพิ่งเคยได้ยินคำนี้ครั้งแรกในกระทู้ของพ่อธีร์ตอนที่ลงในเว็บรักลูกนี่แหล่ะ

ตอนแรกผมไม่รู้ว่ามันคืออะไรกันแน่ มันเป็นศัพท์เฉพาะในวงการศึกษาหรือเปล่า แต่พออ่านจากที่พ่อธีร์ลงไว้ คิดว่าน่าจะพอเข้าใจบ้างเป็นบางส่วน

เพื่อเป็นการไถ่โทษผู้อ่านท่านอื่น ผมเลยลองไปหาข้อมูลใน wikipedia เลยขอมาลงไว้เผื่อท่านอื่นๆจะได้ความรู้เพิ่มเติม(หรืออาจจะยิ่งงงมากขึ้น)ครับ

Number sense can refer to

1 An intuitive understanding of numbers, their magnitude, relationships, and how they are affected by operations.

2 An ability to work outside of the traditionally taught algorithms, e.g., "a well organised conceptual framework of number information that enables a person to understand numbers and number relationships and to solve mathematical problems that are not bound by traditional algorithms.

3 Refers to a child's fluidity and flexibility with numbers, the sense of what numbers mean and an ability to perform mental mathematics and to look at the world and make comparisons.

Researchers consider number sense to be of prime importance for children in early elementary education, and the National Council of Teachers of Mathematics has made number sense a focus area of pre-K through 2nd grade mathematics education.

โดยสรุป ผมลองแปลมั่วๆเอาเองว่า number sense มันเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ ความคิดสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับตัวเลข และ ความสัมพันธ์ของตัวเลข และ ผลของมันต่อกระบวนการต่างๆทางคณืตศาสตร์

ความรู้สึกนี้(sense) มักจะไม่ได้รับจากการสอนคณิตศาสตร์แบบที่เป็นแบบแผนทั่วไป(tradition)

แต่มันต้องใช้ความคิดความเข้าใจแบบยืดหยุ่น และ พลิกแพลงอย่างสูงในการที่จะรู้ถึงความหมายของตัวเลขและอิทธิพลที่มันมีต่อกระบวนการทางคณิตศาสตร์ต่างๆ

ยิ่งแปลยิ่งงงเองแฮะ ผิดตรงไหนพ่อธีร์ช่วยแก้ให้ด้วยนะครับ

ตามความเข้าใจของผมนะ เรื่องnumber senseเนี่ย คิดว่ามันต้องgetเองน่ะ มันสอนกันตรงๆบ่ได้ แต่ควรจะสนับสนุนเขาตั้งแต่เล็กๆ เช่น อนุบาล ประถมต้น อย่างที่พ่อธีร์พยายามบอกพวกเรามาตั้งนานแล้ว

VARAVEE กล่าวว่า...

ครับ เรื่องพวกนี้ เป็นเรื่องที่สำคัญมากมาก นะครับ

ในกระบวนการสร้างสิ่งที่เราเรียกว่า นักคณิตศาสตร์ หรือ ผู้รู้ ทางคณิตศาสตร์ขึ้นมา

ไม่เช่นนั้นเราจะเห็นแต่สิ่งเดิมๆ

และไปไปมามา แบบที่เคยบอกครับ ความรู้สมัยนี้มันเร็ว

สมัยปู่ สอนพ่อ พ่อสอน เรา เราสอนลูก ความเร็วถ้า พลอตกราฟ นี่เป็น Logarithm เลย

ซึ่งเป็นพัฒนาการทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นวิชาไหนก็ตาม เด็กเร็วหมดเลยเท่าที่เห็นตอนนี้ บางอย่างเรียนตอน ม.1 ด้วยซ้ำ เช่น ภาษาไทย


แต่สิ่งที่เราไม่สามารถสอนได้ คือ การได้ Sense หรือ จินตนาการ มา

เราเหมือน พยายามสอนวิธีแก้ปัญหา อะไรเอ๋ย โดยมีรูปแบบ การแก้ ปัญหาให้เขา

โดยเราสรุปเองว่า รูปแบบนั้นเป็นรูปแบบที่ถูก

แต่เราลืมไปว่า ถ้าเราปล่อยให้เขาคิดสักพัก (ซึ่งเขาอาจไม่คิด หรือตอบมั่วออกมา ) เราอาจไม่จำเป็นต้องบอก Algorithm ถึงที่มานั้น เขาอาจจะคิดและ ต่อ Algorithm นั้นขึ้นมาเอง จากประสบการณ์ เพราะเราบอกว่า ผิด และ ถูก

ความคิดผม การเชื่อมโยงองค์ความรู้จึงเป็นส่วนสำคัญ

เราสามารถสอน ความรู้เชิงกลยุทธ เขาได้หมด 1+1 = 2 หรือ 2*2= 4 เราอาจจะสอนเขามาแบบไหน ก็ได้ครับ นี่ คือความรู้เชิงกลยุทธที่เป็นพื้นฐาน

บางคนบอกว่าเป็นพื้นฐาน อาจต้องท่องสูตรคูณอาจนั่นอาจนี่

ไม่ผิดครับ

เหล่านี้ คือความรู้เชิงกลยุทธ มั้งสิ้น

แต่ความรู้เชิงวิเคราะห์ ที่จะไล่ล่าตามกลยุทธที่เขารับมา ได้ทัน

นี่ สิ

เด็กที่เรียน เรียนพิเศษ มาเยอะเยอะ จะได้ความรู้เชิงกลยุทธดี แต่ความรู้เชิงวิเคราะห์ไล่ล่า กลยุทธไม่ทัน

นั่นทำให้ จะใช้ ความรู้เชิงกลยุทธ ไล่ข้อสอบขึ้นไปแทน

ทำให้ทำข้อสอบนั้นได้

ซึ่งนี่เป็นปัญหาใหญ่มากมาก เพราะเด็กไม่สามารถวิเคราะห์ได้เลย

แต่ตอบข้อสอบถูกโดยพึ่งพากลยุทธที่สูงขึ้น

VARAVEE กล่าวว่า...

นั่นทำให้ เวลาเรามองข้อสอบ แข่ง เลยจะดูยากขึ้นยากขึ้นเร่อยๆ

เพราะดูเหมือนคนออก จะบีบ ให้ใช้ความรู้เชิงวิเคราะห์แทน

หรือถ้าจะใช้ กลยุทธ ก็ต้องใช้ กลยุทธขั้นสูง

เช่น ข้อสอบ สสวท ป.3 ปีที่แล้ว

กำหนด a b c d e เป็นจำนวน 5 จำนวนที่ต่างกัน ซึ่งเมื่อนำจำนวนดังกล่าวทีละ 4 จำนวน งบวกกันได้ผลดังนี้ 169 153 182 193 127 ข้อใเคือ สมาชอกของจำนวนที่กำหนด

VARAVEE กล่าวว่า...

ถ้าเด็กจะทำข้อนี้ได้ โดยใช้ความรู้เชิงกลยุทธ

ต้องแก้สมการ 5 ตัวแปร และเขียนสมการออกมา

แบบในเฉลยที่ออกมาขายกันเยอะแยะ

แต่ข้อนี้ ถาใช้ความรู้เชิงวิเคราะห์

จะทำได้โดยใช้ความรู้แค่ ป.3-6

ตรงนี้ต่างหากที่คนออกข้อสอบพยายามจะบอกเราว่า

เขาอยากเห็นอะไร

แต่กลายเป็น

คนรับสาร รับข้อความที่สื่อออกไป ไม่ได้

เช่นข้อสอบ 120 ! ในชั้น ป.6 ของสสวท

ซึ่งดูจากการออกข้อสอบ อนุมานได้เลย

คนออกข้อสอบ 2 ข้อนี้ ในชั้น ป.3 และ 6 ใน ปีที่แล้ว

น่าจะเป็นคนเดียวกัน

คือไม่ยอมให้ใช้กลยุทธ

VARAVEE กล่าวว่า...

หรือถ้าจะใช้ กลยุทธ ต้องใช้ กลยุทธ ขั้นสูง

ซึ่งอาจจำเป็นต้อง ถึง ม ปลาย กันเลย

คราวนี้ ข้อสอบ เหมือน 2 คมกันเลย

การไล่ล่ากลยุทธ จากครูผู้สอน ตามโรงเรียน จากผู้ปกครอง

จึงเกิดขึ้น

คือไล่ขึ้นไปให้สูงสุด

แต่กว่าความรู้เชิงวิเคราะห์ จะไล่ตามความรู้เชิงกลยุทธทัน ซึ่งอาจไล่ไม่ทัน ด้วยซ้ำ

ข้อสอบ 2 ข้อนี้ จึงถือว่า ล้มเหลว ในการ สื่อสาร ให้ คนภายนอก รู้ ถึงจุดหมาย

VARAVEE กล่าวว่า...

การไล่ล่า ความรู้เชิงกลยุทธ ไม่ได้เป็นเรื่องสนุก

เพราะเราอาจต้อง นั่งสอน สมการ สอน Algebra ยากยาก สอน เยอะแยะไปหมด

นี่เอง ทำให้ การสอนคณิตศาสตร์ เลยดูเหมือนยาก

เหตุเพราะ จุดแรก มันผิด

ครับ จุดแรกอยู่ไหนล่ะ

ก็

Number Sense กับ Pattern Sense นี่แหละ

พ่อน้องพลอย กล่าวว่า...

ได้อ่านบทความพ่อธีร์ชุดนี้แล้วพอเข้าใจความสำคัญของการปลูกฝัง"จินตนาการ"ทางคณิตศาสตร์ขึ้นเยอะเลยครับ

ผมลองคิดๆดู แบบนี้น่าจะหมายความว่า ถ้าคนที่มีจินตนาการทางคณิตศาสตร์สูงๆ เวลาเจอโจทย์แปลกๆ(แบบสร้างสรรค์นะครับ)ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน แม้จะเกินความรู้ของเขา ก็น่าจะสามารถใช้จินตนาการในการแก้โจทย์ได้ใช่ไหมครับ

ทีนี้ สิ่งที่น่าคิดต่อก็คือ แล้วการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกของเด็กม.ปลายที่เพิ่งแข่งขันกันเสร็จไปนี่ล่ะครับ แปลว่า เด็กที่ได้เหรียญทองกลับมานี่เป็นเด็กที่มี"จินตนาการ"ทางคณิตศาสตร์สูงมากหรือเปล่า

เพราะโจทย์โอลิมปิกคณิตศาสตร์ที่ผมเคยผ่านตามาแต่ละข้อนี่มันเน้นการวิเคราะห์ การพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ที่ต้องใช้ความสามารถทางคณิตศาสตร์+จินตนาการสูงมากทีเดียว

แต่ผมติดใจอยู่นิดนึง ตรงที่เวลาก่อนส่งเด็กไปสอบแข่งขันเนี่ย ทำไมถึงต้องมีการเก็บตัว เข้าค่าย ให้อาจารย์มหาวิทยาลัยมาช่วยกันติวเข้ม และ สอนคณิตศาสตร์ระดับมหาวิทยาลัยกันมากถึงขนาดนั้นด้วยล่ะครับ

ผมไม่แน่ใจว่า การที่เด็กสามารถทำโจทย์ยากๆอย่างนั้นได้เป็นเพราะเขามี"จินตนาการ"สูง หรือ เพราะเขามีความรู้เชิงกลยุทธที่สูงขึ้นไปอีกขั้น คือระดับมหาวิทยาลัย ก็เลยสามารถทำโจทย์นั้นได้ ไม่รู้อย่างไหนกันแน่

ซึ่งก็ไม่เฉพาะของไทยเรานะครับ ที่อื่นๆเช่น จีน USA รัสเซีย เวียดนาม ที่เขาครองเจ้าเหรียญทองกันบ่อยๆ เขาก็เข้าค่ายติวกันแบบไม่ยั้งเหมือนกัน เวลาที่เด็กไปแข่งกันนี่เหมือนเป็นตัวแทนอาจารย์มหาวิทยาลัยแต่ละประเทศไปแข่งกันซะมากกว่า

ตกลงก็เลยไม่รู้ว่าที่แข่งๆกันไปนี่ มันตอบสนองอะไรกันแน่ วัดอะไรได้จริงหรือเปล่า

อีกอันที่ผมสงสัยมานานแล้ว คือ เด็กที่ไปสอบแข่งขันโอลิมปิกวิชาการแต่ละอย่างเนี่ย ส่วนใหญ่พอกลับมาก็กลายเป็นว่า ส่วนใหญ่มาEntranceเข้าคณะหมอ คณะวิศวะกันซะหมด

ผมเสียดายมากที่เด็กเก่งๆเหล่านี้ ไม่ได้ต่อในสาขาวิชาของ pure science, pure math ที่เน้นไปที่การวิจัยองค์ความรู้ใหม่ๆจากมันสมองคนชั้นเลิศระดับนี้

แทนที่เราจะได้นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ดีๆ เรากลับได้หมอ หรือ วิศวกรที่ไม่รู้ว่าจะดีจริงหรือเปล่ามาแทน อันนี้ผมถือว่า "เสียของ" มากๆเลย (เพื่อนผมที่เคยได้เหรียญโอลิมปิกวิชาการก่อนมาเรียนหมอนี่ ดูไม่จืดเลยครับแต่ละคนเนี่ย)

ไม่รู้ว่าจะโทษอะไรดี หรือเป็นเพราะว่าระบบที่จะมารองรับเด็กเหล่านี้ยังไม่สามารถทำให้เขามั่นใจได้ ทำให้เขาตัดสินใจสละสิทธิ์กันหมด

นอกเรื่องอีกแล้ว!!!

VARAVEE กล่าวว่า...

มันเป็นทุกทุกเรื่องแหละคุณหมอ

ไม่ว่าจะกีฬา หรือ วิชาการ

เราสนับสนุนให้เด็กเล่นกีฬาแต่เล็ก ให้ได้เหรียญ

แต่เรา ไม่ได้ให้อาชีพเขา เด็กที่เล่นกีฬา ก็จะมาหยุด กันช่วง ป.ตรี หลังจาก ใช้สิทธิ เข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยเรียบร้อย

เสียของ เยอะไปหมด เห็นได้เลย ในสระว่ายน้ำนี่ เยอะหมดเลย

ถ้า พ่อกับแม่ ไม่มีเงินจริงๆ แบบ ภราดร แบบ แทมมี่ หรือ ถ้าสมัยก่อน ก็ใช้พนัน แบบ ต๋อง ศิษย์ฉ่อย หรือ ถ้ากอลฟ ก็ พนัน กินเงินกันในช่วงแรก มวย

เรา อยากได้ แต่เรา คิด และเราคิดไม่จบ

เราอยากให้ลูกเรียน คณิตศาสตร์ดีดี ขึ้นไปแข่ง เป็นตัวแทน

แต่เราคิดไม่จบอีก ว่าคุ้มไหม ถ้าตามกระแสขึ้นไป

เพราะ ถ้าแบบที่ผมบอกครับ

เอาจริงๆแล้ว ได้ทุน แล้วต้องใช้ทุน ก็ไม่เอา ได้สิทธิตรงนั้นตรงนี้ก็ไม่เอาอีก เพราะครอบครัวมองแล้วไม่คุ้ม ไม่คุ้มกับรายได้ที่น่าจะได้ในอนาคต

แบบที่ผมเคยบอกครับ ถ้าลูกได้ทุนแล้ว จะให้ลูกไปหรือ ก็เปล่า

แล้วเรียนหนักไปทำไมกันหนอเรียนกัน 7 วัน ไม่พัก

7โมงเช้า เรียนพิเศษ เลิกเรียนเรียนพิเศษ

ซึ่งบางคนก็ไม่รูุ่้ว่ากำลังไล่ตามอะไรอยู่

และเรามักจะได้ยินบอกว่า ก็ทำเพื่อลูก ทำเพื่ออนาคต

แต่ไหงไม่เปิดแม้ทางเลือกไว้ และกลับกลายไปให้สังคม บีบบังคับ ว่าเขาต้องเป็นตั้งแต่เล็ก

BJ กล่าวว่า...

สวัสดีคุณหมอและพ่อธีร์ค่ะ

ทนอยู่โหมดแอบอ่านไม่ไหว
คุยกันน่าสนใจจริงๆ

1 สงสัยค่ะว่า ... การเข้าค่ายติวเด็กที่จะไปแข่งขันโอลิมปิค มีความแตกต่างอย่างไร เป็นการสอนกลยุทธ์ขั้นสูงกว่าอีกหรือเปล่า

2 เรื่อง pure math กับ pure science ... เมืองไทยขาดเยอะนะคะ
จำได้ว่า เคยดูทีวี พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสให้ฟ้าหญิงองค์เล็กฯ ไปเรียนต่อวิทยาศาสตร์ เพราะเมืองไทยยังขาดบุคลากรด้านนี้อยู่มากจริงๆ

เดาว่า เด็กไทยไม่ค่อยสนใจเรียน pure science, math เท่าไร คงเพราะไม่รู้ว่าจบมาแล้วจะทำงานอะไร เงินเดือนจะดีไหม ส่วนใหญ่ถ้าเรียนทางนี้ก็คงต้องอยู่ตามมหาวิทยาลัย เป็นนักวิชาการ กินแกลบแหงๆ

บางทีก็แอบเศร้าลึกๆ
กับระบบการศึกษาที่ผลิตคนเพื่อป้อนเข้าตลาดแรงงาน เป็นหลัก

ไม่ปฏิเสธนะคะว่าทุกคนต้องทำงาน ต้องเลี้ยงชีพ ต้องอยู่ในสังคมที่แข่งขัน

....

หลายปีก่อน เมื่อครั้งคุณตาของภุชงค์บวชอยู่ต่างจังหวัด เราไปเยี่ยมบ่อย ประทับใจกับความเป็นอยู่อย่างธรรมชาติ

ข้างวัดมีสวน ทำไร่ ทำนา
ตกเย็นชาวสวนก็กลับบ้าน
วิถีชีวิตช่างเป็นสุข

คนต่างจังหวัด เมื่อถึงวัยหนุ่มสาว อายุไม่ยี่สิบกว่า ก็แต่งงานมีครอบครัวกัน
เช้า มาทำไร่
เย็น กลับจากไร่ก็ถึงบ้าน

ในวัยที่คนต่างจังหวัดแต่งงานมีครอบครัว ดำเนินชีวิตไปตามธรรมชาติ คนเมืองในวัยยี่สิบกว่า ยังเรียนหนังสืออยู่เลย
เรียนจบ ก็เรียนต่อ
พอทำงาน ชีวิตส่วนใหญ่ก็อยู่บนถนน

คนเมืองหลายคนโหยหาชีวิตที่เรียบง่าย

ชักเริ่มสงสัย (อีกแล้ว) ว่า คนเหล่านี้มีความสุขกับชีวิตไหมหนอ หรือดิ้นรนอยากจะเป็นคนเมือง

นอกเรื่องอีกแล้ว

VARAVEE กล่าวว่า...

เข้าค่ายเก็บตัว ส่วนใหญเลิกแล้วครับ กลยุทธ

อธิบายยังไงดีล่ะ

คุณ ภุชงค์ ดูฮิคารุ เล่นโกะไหมครับ

ตอนแรกแรก ที่ ทำแบบฝึกหัด ในงานวัด หรือ ที่ โทยะต้องมานั่งเรียง เพื่อทำแบบฝึกหัดทุกวัน

อันนี้ ความรู้เชิงกลยุทธ

คือ คนที่อยู่ใน อินเซย์ จะรู้กลยุทธเกือบหมดแล้ว

คราวนี้ ตอนเรียน อินเซย์ เขาเลิกแล้ว กลยุทธ คือรู้หมดแล้ว แทคติค เทคนิคทุกอย่าง

เขาเล่นเสร็จ เขาจะวิเคราะห์ คือเล่นยังไงให้ชนะ

คือถึงแม้ ทำแบบฝึกหัดได้ ระดับสูงๆ ก็ใช่ว่า จะเล่นได้ชนะ

เพราะองค์ ประกอบมันไม่ได้แยกส่วน แบบในแบบฝึกหัด

เพราะฉะนั้น โกะ เวลาเล่นเสร็จ แล้ว

คนเก่งกว่า เขาจะ รีวิว เกมส์ให้ ว่าเดินผิดตรงไหนไป

หรือที่บ้านโทยะ ก็มี ชมรมศึกษาโก เอาเกมส์ มาวิเคราะห์ รูปแบบและ Pattern

เหมือนกันครับ

เด็กที่ติดทีมชาติโอลิมปิค เดี๋ยวนี้

ความรู้กลยุทธ ม.6 ถึง ป.ตร Puremath ี ปี 3-4 แบบสบายสบาย คือสามารถเข้าเรียนได้ และอาจไดเกรด B C โดยแทบไม่ต้องเรียน บางคนแค่ ม.4 เท่านั้น

แต่ที่เขาขาดคือ

การไล่วิเคราะห์เพื่อให้ทัน กลยุทธที่เขามีอยู่

ประเทศไทยได้เหรียญ ทอง เลข โอลิมปิค นี่ แค่ 6 ปี มาเองครับ

ก่อนนั้น เคมี ฟิสิก ชีว ได้มาหมดแล้ว เป็น 10 ปี เลขนี่พึ่งได้มาเอง

เพราะหลังๆโค๊ช คงเริ่มจับทางได้ คือเลิกสอน กลยุทธ ทั้งหมด มาไล่การวิเคราะห์ ที่ต้องมีจินตนาการแทน

ยกตัวอย่าง ก็รูปแบบนี้

http://porthee.blogspot.com/2008/07/blog-post_20.html

รูปโดนัท ตรงนั้น คือ กระดานโกะ นะครับ อย่าเข้าใจว่ามันคืออะไร

แล้วสร้างเงื่อนไข

เพราะฉะนั้น จินตนาการสำคัญมากมาก

VARAVEE กล่าวว่า...

สำหรับคำถาม

บางทีก็แอบเศร้าลึกๆ
กับระบบการศึกษาที่ผลิตคนเพื่อป้อนเข้าตลาดแรงงาน เป็นหลัก

มันถูกต้องนี่ครับ เศร้าทำไมหว่า

ระบบการศึกษา ต้องสะท้อน ถึงระบบ แรงงานเป็นหลัก อยู่แล้ว

เพียงแต่ว่าถ้าคุณเป็นคนที่มีโอกาศ มากกว่า เลยอาจไม่นึกถึง

ลูกเราถือว่าเป็นเด็กมีโอกาส ถูกไหมครับ

ไม่ได้ร่ำรวย แต่อย่างน้อยมีโอกาสในการทำการเรียนรู้ ตั้งแต่เล็ก

วันก่อนผมดูหนัง เรื่องหนึ่ง

สามี ขอพร พระเจ้าให้เขาสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้

ภรรยา ขอพรให้ สามี และครอบครัวรักกันและมีเวลาให้กันเหมือนแต่ก่อน

ลูกขอเวลาเล่นกับพ่อแม่ได้ไม่ดุว่าได้ไปเที่ยวหลายๆแห่ง


พระเจ้าให้หมดเลย

แต่จนลงและจนลง สิ่งที่เคยมีก็ไม่มี มันก็กลายเป็นทุกข์อีกเรื่องหนึ่ง

มี ลูกน้องคนหนึ่งมาถามผมว่า เธอไม่มีเวลาเลย ในการดูลูก เงินก็ไม่พอรายจ่ายเยอะไปหมด

เงินเดือน 2 หมื่นกว่าบาท แฟนทำงาน ด้วยมีลูก 2 คน

คนอื่นก็แนะนำว่า ให้เธอทำงานพิเศษ

ผมบอกว่า ลาออกจากงานซิ

2 หมื่น นี่มาหาเธอหมดเลยนะ

แล้วกำไร ด้วย

เพราะ ตอนเย็น ค่าจ้างเลี้ยงลูกก็เดือนละ 5000 2 คนก็หมื่น ค่ารถโรงเรียน เดือนละ 3000 2 คนก็ 6000 ค่าเรียนพิเศษ ให้ครูดูแลการบ้านอีกเดือนละ 1500 ก็ 3000 ค่าศซักผ้ารีดผ้า ค่ากับข้าวเยอะแยะเลย ไหนจะค่ารถมาทำงาน ค่าเสื้อผ้ามาทำงาน ค่ากิน วันละ อย่างต่ำก็ 100-200 แบบประหยัด

20000 ไปแล้ว ทั้งๆที่ 20000 นั้นเธอทำเองได้หมดเลย

ผมก็แนะนำไปอย่างนี้ แต่ไม่มีใครเชื่อหรอกครับ

เพราะเธอก็เลือกหางานพิเศษ ทำ เพื่อหาเงินได้มากกว่า

กลับบ้าน 2-3 ทุ่ม ทั้งสามี ภรรยา

หยุดวันอาทิตย์ ก็อยากพักผ่อน

ครับผู้หญิงเดี๋ยวนี้ ไม่ค่อยคิดกันเรื่องนี้เท่าไร

ว่าออกจากบ้านน่ะ ค่าใช้จ่ายมากกว่าอีกนะทำงาน แทนที่จะได้กำไร เป็นขาดทุนทุกเดือน

จริงไหม ครับ

VARAVEE กล่าวว่า...

และจริงๆแล้วผมเชื่อว่า หลายคน จะรู้จัก คนแบบกรณีข้างบน คือ เงินเดือน 2 หมื่นกว่าบาท แต่ไปทำแล้วขาดทุน เพราะค่าใช้จ่ายของลูกเพิ่มขึ้น แต่ถ้าอยู่ตัวคนเดียว เหลือกินเหลือเก็บ

เห็นไหมครับนี่ก็คณิตศาสตร์

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

"ครับผู้หญิงเดี๋ยวนี้ ไม่ค่อยคิดกันเรื่องนี้เท่าไร

ว่าออกจากบ้านน่ะ ค่าใช้จ่ายมากกว่าอีกนะทำงาน แทนที่จะได้กำไร เป็นขาดทุนทุกเดือน

จริงไหม ครับ"


มาขอบอกแทนผู้หญิงค่ะ

ว่าคิดค่ะ แต่การลาออกจากงานมาดูแลลูก
จะมีประเด็นที่ต้องคิดว่าถ้าหากหัวหน้าครอบครัวเกิดมีอันเป็นไปก่อนที่ลูกจะโต

รายได้ของสามีและสวัสดิการ มันหายไปหมด

ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงลูกจะเอามาจากไหน

การมีงานประจำทำ บางทีมันก็เป็นเรื่องจำใจเพื่อความมั่นคงของครอบครัวในอีกด้านหนึ่ง


ยอมรับค่ะ ว่าเด็กต้องการเวลาจากพ่อแม่มาก

เวลาลูกอยากได้ของเล่นที่มีราคาแพง

จะถามลูกว่า ถ้าแม่ต้องทำงานเพิ่มตอนเย็น
เพื่อหาเงินไปซื้อของเล่นชิ้นนั้น

ลูกจะตอบว่า ไม่ต้องการของชิ้นนั้น ต้องการให้แม่อยู่ด้วยมากกว่า

พีเอ กล่าวว่า...

ขอชี้แจงเรื่อง top ten ของครูมองครับ หลานผมเองครับ ตอนนี้อยู่อ.3 เขาเกิดปลายปี 46 ตอนนี้ยังไม่ครบ 5 ขวบเลย อะไรจะเก่งปานนั้น ผลงานที่ลงไว้เป็นของพี่ชายเขาครับ ชื่อเขาคล้ายกัน ต่างแค่อักษรตัวท้ายและออกเสียงใกล้กันมาก ด.ช. ชุติxxx คนพี่อยู่ป.4 เมื่อปีที่แล้วได้เหรียญทองคณิตศาสตร์ สสวท.ป.3ไปแล้วครับ เชียร์น้องพลอยให้ได้ completer อายุน้อยสุดคนใหม่ครับ ส่วนตัวผมเชียร์แม่หลานให้เลิกส่งลูกเรียนที่ครูมองซะที ไม่ค่อยเชื่อผมหรอก แต่เขาก็เริ่มรู้สึกแล้วครับ ที่คนพี่เขาได้เหรียญสสวท.ก็เพราะดรอปเรียนครูมองไปเกือบปี ฝึกเชาว์กันน่าดูเพราะอยู่ที่ครูมองไม่ค่อยได้ฝึกครับ พอพี่หยุดเรียนทางศูนย์คงจะมึนๆเอาผลงานไปโอนใส่คนน้องกระมังครับ แม่เขาโทรแจ้งศูนย์แล้ว ว่าผิดคน พวกเราขำกันทั้งบ้าน ไม่รู้ว่าที่นี่ตื่นเต้นกันไปหมด ขออภัยแทนด้วยครับ

VARAVEE กล่าวว่า...

แฮะ แฮะ ดันต่อว่าผู้หญิง ทั้งๆที่คนอ่านบลอก นี้ เป็นผู้หญิงเยอะกว่าผู้ชาย

ตายเลยมิได้เจตนานะครับ

เพียงแต่คิดให้ดูเท่านั้น เฉยๆ

เพราะจริงๆแล้วปัจจัยภายนอกมันยังมีอีกเยอะ

เพราะ ผู้ชายเอง ก็ตัวดีใช่ย่อย

ทำให้เกิดภาวะที่ทำให้รู้สึกไม่มั่นคง

ตัวผู้ชายนี่น่าโทษกว่าจริงๆน้อ

พ่อน้องพลอย กล่าวว่า...

อา...ปริศนาทุกอย่างไขกระจ่างแล้ว

แหะ แหะ ขอบคุณมากครับที่คุณพีเอมาช่วยเฉลย
ตอนแรกนี่ผมเองก็นึกไม่ถึงว่า จะมีเหตุการณ์ที่ศูนย์จะใส่ข้อมูลผิด เอาระดับของพี่มาใส่ให้น้องเพราะชื่อคล้ายๆกันได้เลย เล่นเอาผู้คนแตกตื่นจริงๆครับ
(แต่ถึงกระนั้นหลานชายคุณพีเอก็เก่งมากเลยครับที่ตอนป.3ก็ได้level H แล้ว แถมยังได้เหรียญทองข้อสอบสุดหินแบบสสวท.อีก)

ส่วนเรื่อง"ครูนั่งมอง" คุยกับคุณแม่เและลูกสาวแล้วว่าพอไปรับเหรียญทองตอนเดือนก.ย.นี้แล้ว คงจะเลิกเรียนซะทีล่ะครับ หลังจากยื้อกันไปยื้อกันมาอยู่ซักพักนึงแล้ว

ป.ล.ขำๆพ่อธีร์ที่โดนประท้วงจากคุณแม่
เพราะ ผมเองก็เคยบอกแม่ของลูกผม ให้เขาลาออกมาเลี้ยงลูกอย่างเดียว ก็โดนค้อนว่าเลี้ยงเขาและลูกๆไหวเหรอ เล่นเอาอึ้งไปเลย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผมว่าคนอ่านมีทั้งชายและหญิงละครับ พวกผู้ชายไม่ค่อยชอบแจมหัวข้อที่เต็มไปด้วยสาระ ทั้งๆที่ชอบอ่านกัน ผมเองแอบอ่านพ่อธีร์มาได้ประมาณสี่เดือนแล้วตั้งแต่บอร์ดรักลูก ชื่นชมท่านมาก ขอแสดงความคารวะด้วยใจจริง ผมพูดไม่เก่ง อธิบายอะไรก็ไม่ค่อยชัด ไม่ได้ใจความอย่างที่ตัวเองต้องการจะสื่อ
จึงไม่เคยมาแจมกระทู้สาระ จนกระทั่งเห็นข่าวหลานชาย จึงต้องออกโรงชี้แจงคราวนี้เอง ลูกผมได้เหรียญสสวท.ไปก่อนหลานปีหนึ่ง ผมเองเคยตัดสินใจไม่ให้ลูกเรียนครูมองเมื่อ 5 ปีก่อน เดี๋ยวนี้ยิ่งมั่นใจว่าผมคิดไม่ผิด ยิ่งมาเจอความคิดคุณพ่อธีร์ เป็นอะไรที่โดนใจผมมากๆครับ นี่คือสิ่งที่ผมคิด แต่ไม่เคยสามารถอธิบายได้เหมือนกับที่พ่อธีร์ได้กรุณาแชร์ไว้ตามกระทู้ต่างๆ ผมนับถือเป็นบรมครูท่านหนึ่งเลยครับ ทฤษฏีความรู้แน่นมากๆ
ขอแชร์เรื่องความมั่นคงของครอบครัวนะครับ ผมคิดเหมือนกันว่าถ้าเป็นอะไรไป ครอบครัวคงลำบาก จึงทำประกันชีวิตไว้ให้ภรรยา แบบเบี้ยถูกๆ คือถ้าตายไปจะได้เงินค่อนข้างเยอะ แต่ถ้ามีชีวิตจนครบสัญญาได้เงินคืนน้อยมาก (แบบประกันบางอย่างเน้นขายรูปของการออม คือตายได้เงินน้อย ไม่ตายได้คืนเยอะ) ผมคิดว่าถ้าไม่ตายก็ดูแลครอบครัวได้ จึงเน้นแบบที่จ่ายให้เยอะถ้าผมตาย ภรรยาจะทำงานหรือไม่ทำงานก็ควรมีหลักประกันให้เธอครับ แต่ผมชอบให้ภรรยาทำงานนอกบ้าน เพื่อศักยภาพของเธอเอง แต่ก็เห็นด้วยกับความเห็นที่ว่าถ้ารายได้พอๆกับต้นทุนอื่นๆอยู่แล้ว ก็ลาออกแล้วลดต้นทุนเหล่านั้นซะดีกว่า ได้กำไรความอบอุ่นด้วยครับ กับข้าวฝีมือแม่ชื่นใจกว่ากับข้าวฝีมือคนใช้อยู่แล้วครับ

แสดงความคิดเห็น

Subscribe