8/25/2551 09:18:00 ก่อนเที่ยง

ไม่มีทางลัดสำหรับการพัฒนา แชมเปี้ยน (ต่อ 3.1)

เขียนโดย VARAVEE |

คำถามที่ค้างคาไว้ ก็คือ Think and Loud นะครับ

…..ผมอ่านแล้วยังไม่ค่อยกระจ่างครับ การคิดเป็นสิ่งที่ดี สรุปว่าให้คิดในใจหรือคิดออกมาดังๆครับ think a loud หมายถึงพูดออกมาเป็นเสียงหรือเปล่าครับ ตอนที่ลูกผมอยู่อนุบาล เวลาเขาทำโจทย์จะพึมพำๆไปตามที่เขาคิด ผมมักจะบอกเขาว่าให้คิดอยู่ในใจ พยายามอย่าให้หลุดออกมาเป็นเสียง เพราะมีความรู้สึกว่าการคิดในใจเป็นเทคนิคการทำงานขั้นสูงกว่า และมีสมาธิดีกว่า เป็นการสอนที่ผิดหรือเปล่าครับ……..

Think and Loud คือการสอนสิ่งที่เราคิด และเรารู้ ให้คนอื่น ได้รู้ขึ้นมาเพิ่ม

มันจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลายอย่างนะครับ

เอาแบบนี้ ถ้าใครเคยจำบทความของผมได้

ผมจะบอกว่า พ่อผมให้ผมไปสอน บวก ลบ เลข ทหารเกณฑ์ ตั้งแต่ผมอยู่ ป.4 นี่เรื่อง มันก็เลยมาเกือบ 40 ปีแล้ว

40 ปีที่แล้ว อย่าหวังนะครับ ทหารเกณฑ์จะบวกลบเลขได้ ทำได้ก็มีน้อยครับ เพราะสมัยก่อนการศึกษาภาคบังคับแค่ ป.4 อ่านหนังสือได้ก็เก่งแล้ว

หลายคนทราบดีถึงข้อนี้คือ เมื่อเรารู้อะไรดีอย่างถึงแก่นแท้แล้ว เราสามารถทำการอธิบาย หรือบอกต่อเรื่องนั้นให้อีกคนได้ไม่ยาก

แต่มันยากนะครับ ถ้าไม่ฝึกทักษะการสื่อสารมาด้วย

คราวนี้ จะมีคนเอาไปปนกันในช่วงตอนเล็กเล็ก คือ ช่วงก่อนอนุบาล ก่อนแระถม

มักจะมีคำบอกกล่าวว่าให้กระตุ้นเด็ก อนุบาล โดยใช้คำถามว่า@@@@@ทำไมมันจึงเป็นเช่นนั้น@@@@@

ผมก็มักบอกว่า ถ้าเขาบอกแล้วมันไม่ใช่ความเห็นของเราล่ะ เหตุเพราะว่า ในช่วงก่อน 6 ขวบ การพัฒนา ตรรกะเขามีมาไม่เต็มที่ คุณจะทำอย่างไร

เรื่องอื่นคุณบอกได้ เช่นทำไม ต้นไม้ มีชีวิต ทำไมนั่นทำไมนี่

แต่ทำไม 25+1 ได้ 26 คำตอบมีตั้งมากมายหลายแบบ และเมื่อรูปแบบมันซับซ้อนขึ้น

เช่น

26+4 ได้เท่าไร เขา Think ขึ้นมา จากการฝึกคือ ไม่บอกวิธีให้เขาตั้งแต่เล็ก คือ ผมไม่เคยบอกวิธีนะครับ คนตามอ่านตอนหลังๆจะงง ว่า ไม่บอกแล้วเด็กรู้ได้ไง รอหนังสือของคุณ BJ ครับ

ผมมักจะบอกว่า ถูก ผิด ไม่ใช่ ใช่ เท่านั้น

เพราะอธิบาย ให้ลูกฟังอธิบายไปในบางเรื่อง ก็ยาวอีกเดี๋ยว ไม่เข้าใจแล้วเราโมโหอีก เด็กคิดได้นะครับ ว่า 25+1 คืออะไร โดยที่ไม่ได้ทำอะไรเลย อย่าไปสอนตรรกะในวัยที่เขาไม่มีตรรกะ

การที่ทำให้เด็กคิดเอง ตั้งแต่ การบวก การลบ การคูณ ว่า ความหมายที่แท้จริงของมันคืออะไรในรูปแบบของเขา คนหลายคนประสบแล้วนะครับว่าเป็นไปได้

แต่มันจะเริ่มเป็นปัญหาดังนี้นะครับ

คือ พอ ลูกทำได้ แล้วมักจะไปพยายามถามหรือเค้นเอาเหตุผลกับลูกว่า ทำไม มันมาอย่างไร คืออยากรู้วิธีที่ลูกคิดจนมากจนเกินไป

ไม่ต้องเลยครับ ไม่ต้องถาม ถ้าเขาอยากบอกเขาบอกเราเอง ในตอนเล็ก ในตอนเล็กๆ ไปถามวิชาอื่นเอาครับ วิชาที่เราตอบแบบสนุกได้ ยอมแพ้ได้มีเยอะแยะเลย

ทำไมผมถึงรู้นะครับ เรื่องนี้ ผมจะไม่มีโอกาสรู้เลยถ้าผมไม่ได้มีลูกแฝด ว่าเด็ก ที่เรียนมาด้วยแบบฝึกหัดเดียวกัน ที่เราคิดว่า ระบบความคิดน่าจะไปเหมือนกัน เขาคิดไม่เหมือนกัน

ลองคิดดูนะครับ แม้แต่แฝดก็คิดไม่เหมือนกัน แค่ 28 +5ทั้งๆที่ถูกสอนมาโดยคนคนเดียวกัน แบบเดียวกันในทุกทุกอย่าง เพราะเราสอนโดยเปิดโอกาสให้เขาคิดเราจึงเห็นว่าเขาคิดไม่เหมือนกัน

แต่ได้คำตอบเหมือนกัน เรื่องนี้ทุกคนรู้ดี ว่า คณิตศาสตร์มีวิธีคิดหลายรูปแบบ แต่ถูกเหมือนกัน เพราะฉะนั้นในบางครั้งจึงอาจไม่จำเป็นเลยที่จับความคิดที่เราคิดว่าถูกนั้นใส่ลงไป คือ ในเรื่องนี้ จะเห็นในหลักการของครูนั่งมอง

ผมมักจะบอกว่า ครูนั่งมองน่ะ เป็นวิธีที่ดีนะ แต่เราทำเองได้ แต่ถ้าเราจะใช้ ตัวช่วยชนิดนี้ แต่ครูนั่งมอง ที่เป็น Instructor คือ ผม คิดว่า นาย โทรุ คุมอง ไม่ได้ให้ทำแบบที่เมืองไทยทำ น่าจะหลายช่วง ตั้งแต่ช่วงตอนเล็กๆ ที่ผมเคยบอกว่า คณูนั่งมอง กับ จินตนาการที่หายไป  ถ้าเราพิจารณาเข้าไปถึง วิธีการสอน เราจะเห็นทั้งหมดเลย ว่า นาย โทรุ คุมองคิดอย่างไรกับลูกชายของเขาในขณะนั้น

ถ้ายกตัวอย่างอีกตอนก็ ตอนของ คุณหมอพลอยตอนนี้

อ้างอิง พ่อน้องพลอย

คือ เขามายืนถ่ายวีดิโอลูกสาวผม ตอนนั่งทำข้อสอบที่ศูนย์ ตั้งแต่เริ่มจับเวลาจนกระทั่งทำข้อสอบเสร็จ และ ก็มานั่งจ้องเอาๆ จนลูกสาวผมเขาอึดอัดและดูเกร็งๆไปเลย

เสร็จแล้วเขาก็มาfeedbackให้ผมฟังว่า เรื่อง เวลา กับ ความถูกต้องน่ะไม่มีปัญหา แต่ที่มีปัญหา คือ ลูกสาวผมชอบทำโจทย์"ลัดขั้นตอน"เกินไป!!! แล้วก็ให้แบบฝึกหัดชุดที่เคยทำผ่านไปแล้ว กลับมาแก้ใหม่ให้ถูกต้องอีกปึกนึง

คือ ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า เขาต้องการให้ลูกสาวผมทำตามขั้นตอนของเขา 1 2 3 4 เป๊ะๆ ตามระบบที่เขา setเอาไว้อย่างดี

ในขณะที่ผมจะสอนลูกสาวผมเสมอว่า โจทย์คณิตศาสตร์ข้อนึง มันไม่ได้มีวิธีทำเพียงอย่างเดียว ให้ลองทำหลายๆวิธี แล้วเลือกวิธีที่เราถนัดที่สุด เร็วที่สุด ง่ายที่สุด

บางข้อที่โจทย์ไม่ได้บอกให้แสดงวิธีทำ ลูกสาวผมก็เลยมักคิดในใจแล้วตอบเลย หรือไม่ก็ ทดเลขที่โจทย์ตามที่เขาถนัด บางทีก็ทำวิธีที่ต่างกับเขา แต่ได้คำตอบที่ถูกต้อง แถมยังเร็วกว่าและ ง่ายกว่าวิธีของเขาเยอะ ซึ่งผมมองว่ามันเป็นเรื่องธรรมดามากทางคณิตศาสตร์ แต่ทางนั้นเขาไม่ค่อยชอบเท่าไหร่

ผมก็เลยขอดูต่ออีกซักพักว่า พอlevelยากๆขึ้นไป มันจะยังมีปัญหาแบบนี้หรือเปล่า ถ้ายังเป็นแบบนี้อยู่คงต้องขอบายล่ะครับ

 

===================================

แต่มันจะต้องทำหลังจาก ช่วง ป.1 นี่แหละครับ หรือถ้าเป็นเด็กช่างเจรจา สามารถนำเสนอความคิดของตนเองได้ดี โดยเราไม่ขัด และเอาความรู้ที่เราคิดว่าถูกใส่ไป เขาจะสามารถบอกเราได้ ตั้ง แต่ อ.3 หรือ ตอนวุฒิภาสะเขาพร้อม ซึ่งตรงนี้ นั่นเองที่ผมว่ามันมาไม่พร้อมกัน มาห่างกันเยอะ เรื่องทักษะการสื่อสารนี่

ทักษะการสื่อสารนี่ มี ทั้งการรับฟังการสื่อสารที่มาจากผู้อื่น และสื่อสารให้คนอื่นได้ฟัง

ซึ่ง ตรงนี้ต่างหากตามความคิดผมที่เด็กมีมาไม่พร้อมกัน ลูกสาวผมห่างกันมากนะครับ เรื่องทักษะการสื่อสาร

เพราะฉะนั้น การทำในเวลาที่เหมาะสม จึงเป็นสิ่งที่เหมาะสม

แล้วเมื่อไร เรียกว่าเหมาะสมที่เขาสามารถอธิบายให้คุณฟังได้ล่ะ ว่ารูปแบบที่เขาคิด หรือสามารถสื่อสารให้เพื่อนให้คนที่มีอายุน้อยกว่าเข้าใจได้

ก็ต่อเมื่อ เขาผ่านแบบฝึกหัดชุดนั้นไปสักระยะ หนึ่งจนความรู้นั้น บ่มเพาะมัน

ให้สังเกตนะครับ ถ้าเรา เรียน เลขผ่านมา หรือเรียนเรื่องอะไรก็ตามผ่านมา สักปี แล้วกลับมาอ่านอีกรอบ แม้วิชานั้นเราจะได้คะแนนห่วยขนาดไหน เรา จะรู้เรื่องมากขึ้น พอเราอยู่ ปี 3 เลข ปี 1 กลายเป็นทำไมมันง่ายจังหว่า

แต่ถ้าเราไม่หัดสื่อสาร มันออกมา เราจะไม่ได้อะไรเลย

เพราะฉะนั้นคำถามที่ว่า Mental Think หรือ คิดในใจเป็นวิธีที่ถูกไหม ถูกต้องเลยครับ ต้องทำแบบนั้น

แต่พอสักระยะ ต้องให้เขาอธิบาย อย่าให้เขาอธิบายตอนที่เขาทำถูกใหม่ๆ แต่ใช้ซ้ำ หรือ เคลื่อนไปข้างหน้า ไปสักพัก จนเขาเห็น

แล้วเขาจะอธิบายออกมาได้

===========================

คราวนี้มาถึงประเด็นเด็กที่ทำแบบฝึกหัดเพื่อแข่งกันนะครับ

เรามักจะข้าม ในข้อที่เราคิดว่าเด็ก นั้นทำได้แล้ว เพราะเขาทำถูก เราจะไปสอนในข้อทีเด็กทำผิดแทน

สิ่งที่เราเจอตั้งแต่เด็กนะครับ ให้คุณลองนึกนะครับ ข้อสอบออกมาเรื่องเดียวกัน แต่ พลิกนิดเดียว ทำให้เสียข้อที่เคยทำถูกไป

ครั้นจะเอาข้อที่ทำถูก มาให้เขาทำเมื่อไรมันก็ถูกจริงไหมครับ

มันต้องให้เขาสื่อสารออกมาครับ วิธีแก้ก็คือ ให้เขาสื่อสารออกมา โดยคิดว่า ถ้าเราไม่รู้เขาจะอธิบายให้เราฟังอย่างไร

เรื่องนี้ดูเหมือนง่าย แต่ยากนะครับ

สมมติเอาเรื่องง่ายๆก่อนนะครับ ยังไม่ต้องยาก

ซื้อ นม 23 กล่อง กล่อง ละ 5 บาท จ่ายเงินเท่าไร

ถ้าเด็ก คูณเป็นปั๊ป เขาจับคูณเลย

เราก็ถามว่าแล้วถ้าท่องสูตรคูณไม่เป็นล่ะ เขาก็จะบอกให้ไปท่องสูตรคูณมาก่อน อะไรพรรค์นี้ แล้วเราก็ถามต่อ จนเขาใช้วิธี บวก

ประมาณนี้น่ะครับ

เหตุเพราะเด็กสมัยนี้ ผปค สมัยนี้จะนิยมหัดความคิดรวบยอดให้เด็ก เลย

การทำแบบนี้ บ่อยๆ จะทำให้เด็กที่เก่ง คณิตศาสตร์ ไม่หลุดทักษะการสื่อสาร

เราพบว่าเด็กหลายคนที่เก่งคณิตศาสตร์ไม่สามารถสื่อสารออกมาได้ ในสิ่งที่ตนเองคิด ซึ่ง จะสอดคล้องกับการทดสอบ ของ PiSa ที่เป็นหน่วยงาน ทดสอบ ความรู้ทางคณิตศาสตร์ ของ OECD

และเป็นที่น่าแปลกคือ เด็กที่เรียน สาธิต ส่วนใหญ่ จะมีทักษะด้านนี้ คือทักษะด้านการสื่อสารอยู่ค่อนข้างดี ผลการทดลองหลายต่อหลายปีเป็นเช่นนั้น

ความหมายของการรู้คณิตศาสตร์

@@@@@@

การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematics literacy) มีความหมายมากกว่าการคิดเลขและการทำโจทย์ การรู้จักรูปคณิตศาสตร์ หรือการจัดการข้อมูล แต่หมายรวมถึงรู้ขอบเขตและข้อจำกัดของแนวคิดคณิตศาสตร์

สามารถติดตามและประเมินข้อโต้แย้งเชิงคณิตศาสตร์ เสนอปัญหาเชิงคณิตศาสตร์

เลือกวิธีการนำเสนอสถานการณ์เชิงคณิตศาสตร์ และสามารถตัดสินปัญหาบนพื้นฐานของคณิตศาสตร์

เพื่อแสดงว่าเป็นประชากรที่มีความคิดสร้างสรรค์และรอบคอบ……….

 

เพราะฉะนั้นการจะทำให้ เด็กทำเข้าคำจำกดความดังกล่าว จึง จำเป็นที่จะต้อง ใช้เทคนิค ประเภท Think and Loud

 

 

11 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สวัสดีค่ะ

ตอนนี้ยังเชื่อมโยงเรื่องthink and loud กับเรื่องการสื่อสาร ยังไม่ค่อยได้ค่ะ

ที่พ่อธีร์บอกว่า " เมื่อเรารู้อะไรดีอย่างถึงแก่นแท้แล้ว เราสามารถทำการอธิบาย หรือบอกต่อเรื่องนั้นให้อีกคนได้ไม่ยาก"


จากประสบการณ์ คนที่เก่งคณิตศาสตร์ระดับมือหนึ่ง จะมีวิธีคิดโจทย์ที่แตกต่างจากคนอื่น แต่มักจะอธิบายให้เพื่อนฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่คนที่มีทักษะในการสอนที่ดี มักจะเป็นคนที่เก่ง แต่อาจจะเป็นพวกมือรองๆ ลงมา


ช่วยขยายความเพิ่มด้วยนะคะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

มาขยายความ (จากความเข้าใจของตัวเองนะคะ)

การที่ทำให้เด็กคิดเอง ตั้งแต่ การบวก การลบ การคูณ ว่า ความหมายที่แท้จริงของมันคืออะไรในรูปแบบของเขา คนหลายคนประสบแล้วนะครับว่าเป็นไปได้


แต่มันจะเริ่มเป็นปัญหาดังนี้นะครับ

คือ พอ ลูกทำได้ แล้วมักจะไปพยายามถามหรือเค้นเอาเหตุผลกับลูกว่า ทำไม มันมาอย่างไร คืออยากรู้วิธีที่ลูกคิดจนมากจนเกินไป

ไม่ต้องเลยครับ ไม่ต้องถาม ถ้าเขาอยากบอกเขาบอกเราเอง ในตอนเล็ก ในตอนเล็กๆ ไปถามวิชาอื่นเอาครับ วิชาที่เราตอบแบบสนุกได้ ยอมแพ้ได้มีเยอะแยะเลย



พ่อธีร์เขียนว่า
Think and Loud คือการสอนสิ่งที่เราคิด และเรารู้ ให้คนอื่น ได้รู้ขึ้นมาเพิ่ม

ตามด้วยวิธีการสอนเด็ก โดยไม่สอน ใช้การบอกสิ่งที่ถูกให้เด็กเห็น ... แล้วให้เด็กพยายามค้นหาวิธีทำ

การให้เด็กค้นหาวิธีทำ คือ การกระตุ้นให้เด็กได้ Think ... ซึ่งแม่ๆ หลายคนทำสำเร็จมาแล้ว
เริ่มจาก
1. การสอนให้ลูกนับเลข 1-100
2. วางกระดานเบี้ย 1-100
3. พัฒนาไปเป็นการสอนบวก ลบ (โดยใช้รูปประโยคสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์) เช่น 25+1 =

ให้เด็กได้เห็นโจทย์ที่เป็นประโยคสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ โดยไม่ต้องสอนเลยว่า
1. เครื่องหมายบวก แปลว่าอะไร
2. เครื่องหมาย เท่ากับ แปลว่าอะไร

สองอย่างนี้ คือความรู้ใหม่ที่เด็กไม่เคยรู้จัก (อาจจะรู้จักคำว่า "เท่ากับ" ที่เป็นภาษาพูดบ้าง แต่ไม่รู้จักเครื่องหมาย "="

ความรู้เดิมที่เด็กมีอยู่ คือ
1. การนับเลข เรียงลำดับทีละหนึ่ง จาก 1-100 หรือ 1-50 ก็ว่ากันไป -- เด็กรู้จักการเรียงลำดับ
2. มองเห็นภาพตัวเลขบนกระดานเบี้ย -- รู้จักตำแหน่ง และการเรียงลำดับเช่นกัน


เมื่อคุณแม่เอากระดาษที่มีโจทย์ 25+1 = (และอีกหลายข้อ) ให้ดู แล้วอ่านให้ลูกฟังว่า

"ยี่สิบห้า บวก หนึ่ง เท่ากับ ยี่สิบหก"

วันแรก ... เด็กที่เล็กหน่อยอาจจะทำหน้าเหวอ
ถ้าโตหน่อย วุฒิภาวะมากขึ้น อาจจะพอเริ่มเก็ต และจับทางได้

สิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กในตอนนี้คือ
การกระตุ้นให้เด็ก ได้ Think

.....

ตัดฉาก พักเบรคหน่อย

.....

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Think คือ การคิดในใจ
Loud คือ การสื่อสารสิ่งที่คิดออกมาให้คนอื่นได้รับรู้ อธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้


อันที่แล้วเขียนถึงการกระตุ้นให้เด็กคิด

ลำดับต่อมา พ่อธีร์อธิบายถึงกระบวนการสอนที่อาจเป็นอุปสรรคที่ทำให้เด็ก ไม่สามารถ Think ได้

เช่น
การกระตุ้นเด็กให้แสดงความคิดเห็น โดยใช้คำถามว่า "ทำไมมันจึงเป็นเช่นนั้น"

อันที่จริง การใช้คำถามนี้ เพื่อกระตุ้นให้เด็กคิด หรือบอกสิ่งที่เขาคิดออกมา ไม่ได้ผิด เลย

แต่
บางครั้ง ถ้าเด็กยังอยู่ในวัยที่เล็กเกินไป เล็กเกินกว่าที่จะอธิบายความเข้าใจสิ่งที่ซับซ้อนของตัวเองออกมาเป็นคำพูด
.
.
ถ้าเราพาลูกไปเที่ยวสวนสาธารณะ เห็นเปลือกกล้วยหล่นอยู่กับพื้น เราอยากให้ลูกเก็บไปทิ้ง และกระตุ้นจิตสำนึกให้เด็กด้วย

เราถามลูกว่า "ถ้าหนูไม่เก็บเปลือกกล้วย มันจะเกิดอะไรขึ้นบ้างคะ"

ลูกเริ่มใช้สมองคิด แล้วก็ตอบออกมา

คำถามลักษณะนี้ ดีค่ะ และอยู่ในวิสัยที่เด็กพอจะอธิบายความคิดของตัวเองออกมาเป็นคำพูดได้



หรือ `เด็กลูก 3 ขวบที่ทำโจทย์ ข้อนี้ถูกได้เป็นวันแรก
25 + 1 =

แล้วคุณแม่ถามว่า หนูรู้ได้ยังไง
เด็กก็ตอบว่า "อ๋อ .. ยี่สิบห้า แล้วก็ยี่สิบหกไง"

สมมุติว่า
ต่อยอดไปเรื่อยๆ ถึง 26 + 4
แล้วเด็กเริ่มมีข้อที่ผิด บ้าง
คุณแม่ สงสัยว่า ...
ควรจะต่อยอดดีไหม
หรือควรรอให้เด็กทำถูกทุกข้อก่อน

ก็ถามว่า "ยี่สิบหก บวก สี่ ได้เท่าไรคะ"
อาจจะถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิด แล้วกลับไปแก้ข้อที่ผิด (หรืออะไรก็แล้วแต่)

สำหรับพ่อแม่ ถ้าถามว่า ...
"รู้ได้อย่างไรว่า ยี่สิบห้า บวก หนึ่ง คือ 26"
"รู้ได้อย่างไรว่า ยี่สิบห้า บวก สี่ คือ 29"

คำถามสองคำถามนี้อาจไม่แตกต่างกัน และพ่อแม่อาจอธิบายเหตุผลได้ไม่ยาก

แต่สำหรับเด็ก ความยากในการอธิบายคำถามสองข้อนี้อาจจะไม่เหมือนกัน
- เด็กอาจจะอธิบาย "บวกหนึ่ง" ได้
- แต่พอให้อธิบาย "บวกสี่" ก็ชักจะเริ่มออกอาการมึน

มึน
ทั้งที่เขาเข้าใจว่า มันได้มาอย่างไร
แต่พอให้ "สื่อสาร" ก็ไม่รู้ว่าจะอธิบายให้เราฟังอย่างไร

สำหรับเด็กสามขวบ
ถ้าบอกว่า

ยี่สิบห้า แล้วยี่สิบหกไงครับ
กับ
ยี่สิบห้า แล้วนับไปอีกสี่ช่อง ก็ได้ยี่สิบเก้าไงครับ

ความยากอาจจะผิดกันก็ได้

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

บางครั้ง ...

ถ้าเด็กเล็กมากๆ แล้วเราเห็นว่า
เขาสามารถทำโจทย์ได้ถูกมากขึ้น ทำได้ถูกเกือบหมด
ก็ต่อยอดไปได้เลย

ไม่ต้องรอให้ทำถูกหมดก็ได้นะครับ
(อิอิ.. แอบปลอมตัวเป็นพ่อธีร์)

ถ้ามั่นใจว่า เด็กรู้ "หลักการ" แล้วละก็
การที่เด็กทำผิด อาจเกิดเพราะ
1. เด็กไม่รอบคอบ (ซึ่งต้องหากุศโลบายเพิ่มเติมอื่นๆ ในการฝึก)หรือ
2. เด็กแกล้งทำผิด (เพราะอยากให้แม่มาอธิบายให้ฟัง จะได้ไม่ต้องทำเอง)
3. เด็กไม่มีสมาธิ หรือเหนื่อย

ต้องพิจารณาในแต่ละสถานการณ์ไป

แม้เราจะไม่อยากให้เด็ก ทำโจทย์ผิด
แต่ถ้าใช้เวลาทุ่มเท และกังวลกับข้อที่ "เด็กทำผิด" อยู่อย่างเดียว

บางที ถ้าเราสอนไปจนจบเรื่องนี้ทั้งหมด.. จะช่วยให้เด็กมองเห็นภาพรวมได้ดีกว่า หยุดพักอยู่ตรงกลางทาง

เหมือนเดินขึ้นตึก 30 ชั้น
ถ้าหยุดดูวิว ตรงชั้น 15 ภาพที่เราเห็นก็จะไม่กว้างเท่าวิวบนชั้น 25

และวิวที่เห็นบนชั้น 25 ก็อาจจะไม่ครอบคลุมเท่าวิว ที่มองจากเฮลิคอปเตอร์

(ตรงนี้ต้องพิจารณาให้ดีด้วยค่ะ)
.
.
.

จุดที่พ่อธีร์ไม่อยากให้มองข้าม คือ

ข้อที่เด็กทำได้ถูกต้อง
การทำถูกต้อง อาจไม่ได้หมายความว่า เด็กเข้าใจเรื่องนั้นแล้วเสมอไป


ตัวอย่างเช่น

น้องปุ๊ปปั๊บ ทำโจทย์
"ซื้อ นม 23 กล่อง กล่อง ละ 5 บาท จ่ายเงินเท่าไร"

- น้องปั๊บตอบถูก
- พ่อถามว่า "ปั๊บคิดได้อย่างไรลูก"

- ปั๊บตอบว่า "ก็ 23 คูณ 5 ไงพ่อ"

- พ่อถามว่า "ถ้าพ่อท่องสูตรคูณไม่เป็นหละ"
- ปั๊บตอบว่า "พ่อก็ไปเรียนท่องสูตรคูณมาก่อนสิ"
.
.

ตอบแบบนี้
แสดงว่าเริ่มมีปัญหาแล้วใช่ไหมครับ

ทั้งที่ข้อนี้ น้องปั๊บทำได้ถูกด้วยซ้ำ

........

แอบปลอมตัวอีกแล้ว
เดี๋ยวมาต่อจ้า

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อันนี้โค้ดคำพูดพ่อธีร์ ...
แต่จัดวรรคตอนใหม่

++++++++++

เรามักจะข้าม ในข้อที่เราคิดว่าเด็กทำได้แล้ว เพราะเขาทำถูก

เราจะไปสอนในข้อทีเด็กทำผิด

ลองนึกนะครับถ้าข้อสอบออกมาเรื่องเดียวกัน
แต่พลิกนิดเดียว เด็กก็อาจทำผิดได้
และเสียคะแนนในข้อที่เคยทำถูกไป

(นึงถึงคำตอบของน้องปั๊บ เรื่องนม 23 กล่อง ราคา 5 บาท -- ที่ไล่ให้คุณพ่อกลับไปท่องสูตรคูณให้เป็นอย่างเดียว)


ครั้นจะเอาข้อที่ทำถูกกลับมาให้เด็กทำใหม่อีกรอบ
เด็กก็ทำถูกอยู่ดี ...



วิธีแก้และทางออกที่จะทำให้เรามั่นใจได้ว่า
"เขาเข้าใจโจทย์ที่เขาทำถูกอย่างถ่องแท้"
(ไม่ว่าจะพลิกแบบไหนก็พลิกตามได้)

ก็คือ

ให้เขาสื่อสารออกมา
ใช้คำถามว่า "ถ้าพ่อไม่รู้ พ่อจะต้องทำอย่างไร"


กรณี น้องปั๊บ ...
- พ่อบอกว่า พ่อท่องสูตรคูณไม่เป็น
- น้องปั๊บไล่ให้พ่อไปท่องสูตรคูณ
- พ่อบอกว่า พ่อบวกเอาได้ไหม
- น้องปั๊บว่า ไม่ได้ .. ไปท่องสูตรคูณมาเลยนะพ่อ

การที่น้องปั๊บไล่ให้พ่อไปท่องสูตรคูณ
แสดงว่า น้องปั๊บกำลังมองความคิดรวบยอด
แต่ลืมความคิดพื้นฐาน
หรือไม่งั้น ก็ไม่รู้ว่าจะสื่อสารออกมาได้อย่างไร

สมมุติ
ให้น้องปั๊บเป็นเจ้าหญิงอยู่บนปราสาทหอคอยงาช้าง
เจ้าชายรูปงาม ยืนตะโกนอยู่ตรงชั้นล่างของประสาทว่า

"กระผมอยากขึ้นไปรับเจ้าหญิงครับ
กระผมจะขึ้นไปอย่างไรดี"

เจ้าหญิงปั๊บหย่อนเชือกลงมาทางหน้าต่าง
"ปีนขึ้นมาเลยจ้ะ"

เจ้าชายบอกว่า
"กระผมปีนบันไดลิงไม่เป็นครับ จะทำไงดี"

เจ้าหญิงตอบว่า
"ไปหัดปีนมาก่อนนะจ๊ะ"

เจ้าชายก็ยืนคอยอยู่ตรงนั้นแหละ
เพราะเจ้าหญิงลืมไปว่า
มีทางง่ายๆ ที่จะขึ้นประสาทได้อีกทางหนึ่ง

ก็ "บันได" ไง้

..........

การหัดให้ลูกสื่อสาร
เรื่องนี้ดูเหมือนง่าย แต่ยากนะครับ

ที่ว่า "ยาก"
เพราะทักษะในการ "สื่อสาร" บางครั้งต้องขึ้นวุฒิภาวะ สภาพแวดล้อม และการบ่มเพาะ

การบ่มเพาะในที่นี้ ก็หมายถึง การที่ให้เด็กทำแบบฝึกหัด จนมีความรู้ความเข้าใจในระดับที่ดีพอจะสื่อสารออกมาได้

การทำให้เด็ก สื่อสาร ออกมาได้
ช่วยให้เขาใช้ความเก่งที่มีอยู่ในตัวเป็นประโยชน์กับคนอื่นได้มากขึ้น คือ เก่งและไม่เสียของ

..........




สรุป

THINK
คือ ฝึกให้เด็กได้พยายามใช้ความคิดของตัวเอง

บางครั้งการถามบ่อยเกินไป หรือจดจ่อเฉพาะข้อที่ "ทำผิด" เพียงอย่างเดียว
อาจทำให้พ่อแม่อดใจไม่ไหว ต้องบอกวิธีทำให้ลูก
เมื่อพ่อแม่อธิบาย เด็กก็ไม่เกิด Think

(บางเรื่องต้องอธิบาย แต่บางเรื่องเด็กสามารถคิดเองได้ ถ้าเราให้เวลาในการบ่มเพาะ)



LOUND

- เมื่อเด็กได้ "คิด" แล้ว
อย่าลืมสนับสนุนให้เด็กมีโอกาส "สื่อสาร" ความคิดนั้นออกมาให้คนรอบข้างเข้าใจด้วย

- การสื่อสาร ถามวิธีคิดของเด็กในโจทย์ที่ค่อนข้างซับซ้อน ถ้าเด็กเข้าใจแต่ยังอธิบายไม่ได้ อาจรอให้เด็กอยู่ในวัยที่เริ่มอธิบายได้ก่อนก็ได้



(ตรงไหนไม่ถูก ... พ่อธีร์ช่วยแก้ด้วยนะคะ)

VARAVEE กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
VARAVEE กล่าวว่า...

NK ถามว่า

คนที่เก่งคณิตศาสตร์ระดับมือหนึ่ง จะมีวิธีคิดโจทย์ที่แตกต่างจากคนอื่น แต่มักจะอธิบายให้เพื่อนฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง

แต่คนที่มีทักษะในการสอนที่ดี มักจะเป็นคนที่เก่ง แต่อาจจะเป็นพวกมือรองๆ ลงมา
==========================
ถ้าอยากให้ลูกเป็น ทั้ง มือหนึ่ง และ อธิบายให้คนอื่นรู้เรื่องก็คงต้องฝึกแหละนะครับ

และถ้าฝึกแล้ว ไม่ได้เป็นมือหนึ่ง แต่เป็นมือรอง อันดับ 1000 แต่สามารถทำให้คนอื่นรู้เรื่องได้นี่

ก็เอา่แล้ว

ดีกว่าได้อันดับหนึ่งแล้วสื่อสารไม่ได้

คนที่ได้ เลยๆไปเยอะเยอะ บางทีเขาอยากสอนครับ แต่เขาไม่สามารถสอนได้

พอสอนไปปั๊ป เพิ้อนมักบอกให้กับไปพูดภาษาคนให้ฟัง

สรุปโดนด่ามากมากไม่สอนดีกว่า

กับอีกประเภทหนึ่ง มักไล่ไปแบบตัวอย่างของ BJ

ก็ไปท่องสูตรคูณมาซิ.....
ก็กรูท่องไม่ได้นี่หว่า มันก็จะจะบอกว่า งั้นก็สอบตกไป ......
เพราะเขาหาวิธีที่ดีที่สุดไว้ในใจแล้ว
คือรวบยอดไว้หมดแล้ว

=====================

ประเด็นนี้ มันต่อมา Mindmap ด้วยนะครับ

เดี๋ยวมาต่อ อีก

เหตุเพราะว่า ผมอยากได้ลูกที่สามารถสื่อสารกับชาวโลกรู้เรื่อง
พร้อมๆกับ สื่อสารให้นักคณิตศาสตร์รู้เรื่องด้วย

ก็ต้องฝึกกันนิด

แต่เลวร้ายยังไงต้องให้ได้ทักษะการสื่อสารมา

VARAVEE กล่าวว่า...

อ่านเรื่องเจ้าหญิง ของ BJ แล้วขำ

กร๊ากกกกกกกกกกกกก

==============

มีนิทานอีกเรื่อง ที่เข้ากับ ประเด็น ของ NK

เด็กคนหนึ่ง ถามแม่ว่า เด็กคนนั้งทำไม ถึง ดูผอม แห่ง แบบนั้น

แม่บอก ก็เขา จน ไม่มีข้าวกินไง เขาไม่มีโอกาศเหมือนหนู

ลูก สวนมาทันที ทำไมไม่กินแฮมเบอรเกอร์หว่า

คือ เด็กที่เก่ง เกินไป เขาจะมองไม่เห็นครับ ว่า เด็กที่ไม่เก่ง เป็นยังไง

เพราะเขาไม่รู้สึกหิวอย่างแท้จริง ไม่มีข้าวเขาเลือก นมกิน พิซซ่ากินได้

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อยากฝาก หนังสือ เรื่อง " ถนัดใช้ให้ถูกข้าง : หูตา สมอง มือ เท้า รู้ไว้ทำให้เรียนเก่ง " Dominant Factor ของ คาร์ลา ฮันนาฟอร์ด แปล โดย พญ สุรนี จิวริยเวชช์ ของสำนักพิมพ์ ขวัญข้าว

อ่านแล้ว อาจจะพอ get idea ว่า ทำไม ลูก พึมพัม ออกมา เวลา ทำเลข (อาจจะ นะคะ ) เพราะสามีตัวเอง เวลาทำอะไร แล้วไม่พูดออกมา จะคิดไม่ออก ถ้า คิดไป พูดไป ก็จะลื่นไหล พอมาอ่านหนังสือเล่มนี้ ก็เลยอ๋อ ว่า เป็น เพราะ ความถนัด นี่เอง

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณค่ะ bj ที่มาขยายความ



ถ้าพูดถึงความอยาก อยากให้ลูกมีทัศนคติที่ดีกับคณิตศาสตรค่ะ

อยากให้ลูกเห็นว่ามันคือชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา

คิดว่าเป็นพื้นฐานในการที่ลูกจะสนใจเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ

เก่งหรือไม่เก่งไม่ใช่ประเด็นค่ะ

นิทานของพ่อธีร์เห็นภาพเลยค่ะ

BJ กล่าวว่า...

หนังสือที่แม่น้องปิ๊นปิ๊นแนะนำ น่าสนใจจัง
เดี๋ยวไปหามาอ่าน
......

ฝากความถึงแม่น้องข้าวปั้น
ขออีเมล์หรือที่สามารถติดต่อได้ด้วยนะคะ

แสดงความคิดเห็น

Subscribe