8/13/2551 09:55:00 ก่อนเที่ยง

ลูกเรียนไม่เก่งทำอย่างไรดี

เขียนโดย VARAVEE |

พอดีเมื่อวันก่อนมีเพื่อนมาหา ลูกอยู่ ป.1 ลูกเรียนไม่เก่ง ทำอย่างไรดี

ผมก็ถามดูว่า ทำไมล่ะ ถึงเรียนไม่เก่ง เพราะ ดูแล้ว ฉลาดออก เดี๋ยวเรามาลองดูกันถึง กิจวัตรนะครับ

ก่อนอื่น ต้องบอกว่าโรงเรียน ก็โรงเรียน แคทอลิค และก็ อายุเธิจะเป็นเด็กที่อายุน้อยที่สุดในรุ่น เนื่องจาก เกิด มิถุนายน

เรียน แคทอลิค ตั้งแต่แรกเลยตั้งแต่ อ.1 ไม่ได้ข้ามห้วย แบบ เรียนเตรียมความพร้อมมา แล้วเข้ามาเรียน

มาต่อกันให้จบ

ปัญหาทางกายภาพ ทางสุขภาพ ไว้ที่หลังนะครับ เอาปัญหาโดยทั่วๆไปก่อน

แบบที่ผมเคยบอกครับ คือ ถ้า คุณเอาตำราเรียนของเด็กมาดู 2-3 ที่ ลักษณะโรงเรียนที่แตกต่างกัน ในตอน ป.1

ความแตกต่างกันมากนะครับ แต่ตอน ป.3 จะเริ่มคล้ายกันแล้ว คราวนี้ สิ่งที่ต้องพก ก็คือ นาง ทำใจครับ

คำว่าทำใจ ไม่ใช่แบบ ทำใจเพื่อทิ้งขว้าง แต่ทำใจ ที่จะรับในทุกทุกเรื่อง เรามาลองแยกปัญหาเป็น ข้อข้อ ดีไหม เพื่อให้คุณ พิจารณาดูให้เห็นได้ชัด

1. เรื่องวุฒิภาวะ และ อายุ

2.รูปแบบของ โรงเรียน ในวัยอนุบาล

3. รูปแบบของโรงเรียนในวัย ประถม

4. สังคมโรงเรียนที่เปลี่ยนไป

ประมาณ เรียนเก่งมากมากเลยในตอนอนุบาล เป็นที่ภูมิใจ แต่พอเข้าประถม มีหนังสือมาจากโรงเรียนให้กวดขัน

เราลองมาขยายตวามกันนิด

1. วุฒิภาวะ และอายุ

ในตอนเล็กๆ คุณลองมองเด็กที่มีอายุแตกต่างกัน 6 เดือน-1 ปีนะครับ ความแตกต่างกันมากมากเลย เด็กที่มีอายุมากกว่า ก็วุฒิภาวะดีกว่า นิ่งกว่า พูดจารู้เรื่องกว่า

นี่เป็นเรื่องธรรมดาใช่ไหมครับ

ทุกคนรู้ดีทราบดีถึงข้อนี้

เอาเรื่องอายุน้อยก่อน แล้วค่อยดูว่าเด็กที่มีอายุมากกว่าแพ้ไหมเพราะบางคนก็อาจบอกว่าลูกฉันอายุก็มากแล้วไม่เห็นเก่งเลย เอาอายุน้อยก่อน เพราะเรื่องนี้เป็นกระแส

เรามาลองดูตรงนี้นะครับ เอาโดยประมาณนะครับ

ถ้าลูกคุณเกิด ปี 2547 ตั้งแต่ มค.-ธค. 2547

มาแบ่งเป็น 2 ช่วงก่อน

1มิย.-31ธค.2546

1 มค.-31พค.2547

1มิย.-31ธค.2547

สมมตินะครับ

เกณฑ์การรับเด็กเข้าเรียน ในโรงเรียนส่วนใหญ่ จะอยู่ที่

1มิย.-31 พค.2547

ถ้าอ่อนกว่า นี้ เด็กคนนี้จะไม่ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากรัฐบาล 1 ปี นั่นทำให้โรงเรียนไม่ค่อยอยากรับเด็กที่อายุต่ำกว่าเกณฑ์เพราะไม่ค่อยอยากยุ่งยาก เด็กไทยทุกคนมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายจากทางรัฐนะครับไม่ว่าจะเรียนเอกชน หรือ อะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือไม่ จะได้มาส่วนหนึ่ง ที่รัฐออกให้

ส่วนใหญ่ถ้าเป็น รร เอกชน รร ก็จะเอาไปถ้าจำไม่ผิดก็ ปีละ 3000-5000 ต่อหัว อะไรนี่แหละ

เอาแค่เด็กเรียนในเกณฑ์ ปกติก่อนนะครับ

เด็กที่ห่างกัน มีผลแน่แน่ ต้นปีการศึกษา กับ ปลายปีการศึกษา

คราวนี้ ในโรงเรียน ที่ฮิตกันเพื่อพาลูกเข้าสอบนะครับ สาธิต ซึ่ง สอบเข้า ป.1 ก็จะมี สาธิต จุฬา และ สาธิตเกษตร ประสานมิตรนั้นสอบเข้า อนุบาล

เมื่อ ป.1 เขาตัดที่ ต้นปี ปลายปี เด็กที่เกิดปลายปี ถ้าไปเข้าอนุบาลที่แบบเตรียมสอบเข้าสาธิต เขาก็จะรับ ยัน ธันวาคมเลย หรือบางโรงเรียน เพื่อ คุมง่ายก็อาจตัดกันที่ ประมาณ ตุลา

นั่นหมายความว่า ถ้า ปกติ ลูกคนอื่นอยู่ อ.2 ลูกเราก็อยู่ อ.3

สาธิต รับ 100 คน มีโรงเรียนอนุบาล ที่เตรียมสอบกันเยอะ

ถ้าลูกสอบไม่ติด จะทำอย่างไรครับ

1. ลูกจะต้อง ขึ้น ป.1 หรือ

2. ลูกจะต้องซ้ำ อนุบาล 3

ถ้าเกิด สิงหา แบบลูกผม แม่แม่ในเวปนี้ ลูกเกิด สิงหาเยอะ สมมติลูกขึ้น ป.1 เลย ลูกจะกลายเป็นเด็กอายุน้อยสุดของชั้น พ่อแม่บางคนยอมเสียเงินให้โรงเรียนเพิ่มเพื่อให้รับลูกอายุน้อยของคุณเข้าสู่ชั้น ป.1

ถ้าคุณไม่ได้เตรียมพร้อมมาแต่เล็ก โดยลูกเรียนเตรียมความพร้อมมาแต่เล็ก

แล้วถ้าเกิดเปลี่ยนเป็น ไม่ต้องถึงแนววิชาการเข้มข้น เอารงเรียนธรรมดา ก็พอ

ลูกต้องจดการบ้านได้ลูกต้องทำนั่นทำนี่ได้เต็มไปหมดแล้ว

ลูกคุณก็อาจจะเป็นเด็กที่ไม่เก่งของห้อง

ถ้าลูกเข้า ป.1 โรงเรียน ธรรมดาธรรมดา เพื่อเตรียมพร้อม เข้า ป.1 แนววิชาการล่ะ

พ่อแม่บางคนก็ยอมรับไม่ได้อีก เพราะมันธรรมดาเกินไป มันเหมือนลดเกรดตัวเองชอบกล

แล้วถ้าซ้ำ อ.3 ล่ะ ซ้ำทำไมละครับ ซ้ำโรงเรียนเดิม ก็ไม่มีประโยชน์อะไรอีก แล้ววุฒิภาวะที่ตามสังคมอีก

เฮ้อออออออออออออออออ…….

คิดแล้วเหนื่อยแทน

นี่แหละครับ

ที่เขาบอกว่าถ้าเราเตรียมลูกพร้อมนะ เราก็ไม่ต้องกังวลเลย

ยังไงพ่อแม่ก็ต้องมีใจที่เป็นเป็นกลางพอ

เห็นด้วยเลยครับ

ตรงนี้ ผมเห็นบางครอบครัว ทำใจไม่ได้

หลายครอบครัวมากมาก

คือ ถ้าถามผมถ้าตกอยู่ในสถานการณ์นั้น ผมจะทำใจได้ไหม ผมก็ตอบว่า ไม่รู้สิ

บางครอบครัว ให้ลูกไปแค่เรียนรอ กับอีกโรงเรียน ตอน ป.1

แล้วก็ทำใจไม่ได้ พอนึกออกไหมครับ คือ มีบ่นมีว่า มีติ โรงเรียน อย่างนั้นอย่างนี้ก็มีว่าไม่ดีแบบนั้นแบบนี้

คือไม่พอใจ แต่ เขารับลูกเรียน ป.1 เพราะไม่มีโรงเรียนไหนรับ

บางครอบครัว
รนหาเรื่องอันนี้ก็มีให้เห็น

คือลูกอายุไม่ถึง แต่อยากให้ลูกเรียนโรงเรียนดีดีไปซะเลย ก็เสีย ค่าใช้จ่ายเพิ่ม เสีย แป๊ะเจี๊ย เยอะแยะ

เสร็จแล้ว เข้าไป ช๊อค เพราะ คาดไม่ถึงว่า โรงเรียนแนววิชาการ เป็นอย่างไร

โรงเรียนแนววิชาการ เขาจดการบ้าน เขียนหนังสือกันเป็นตั้งแต่ อ.3

พอ ป.1 เขียนหนังสือยังไม่คล่อง ก็ทำใจลำบาก ที่ลูกจะอยู่รั้งท้ายของห้อง

แต่ลูกเรียน เตรียมความพร้อมมา แบบพ่อแม่สมัยใหม่ทั้งหลาย ที่ต้องการเห็นลูกมีความสุข

ทุกข์มาเยือนเลยทันที กลายเป็นวิตกจริตทั้งครอบครัวก็มีให้เห็น

โรงเรียนเตรียมความพร้อม อนุบาล มีเด็กอยู่ในห้อง 10-15 คน

โรงเรียนลูกตอน ป.1 ซัดไปซะ 40-50 คน

ลูกก็ทุกข์ พ่อแม่ก็ทุกข์

เพราะฉะนั้น ผมมักจะแนะนำคนที่เลือกโรงเรียนตอนอนุบาล ว่า เลือกให้มีทางเลือกหน่อย

จะแบบเตรียมพร้อมเข้า สาธิต กันตอน อ.1

แล้ว อ.3 ทำไง แล้วถ้าเขาเข้าสาธิตไม่ติดคุณทำไง

บางครอบครัว เตรียมพร้อมมาขนาด หมดเป็น แสน

แต่นะ บางทีเก่งในโรงเรียนกฌไปสอบไม่ติด เพราะ เขารับ 100 คนเอง

และก็ไม่ใช่ลูกไม่เก่งอีก เก่ง เพียงพอพร้อมจะขึ้น ป.1 ไหม เพียงพอ แต่ไม่เพียงพอใน โรงเรียน ในทางตรงข้าม คือ แคทอลิค หรือถ้าเข้าเรียนแล้ว ก็คงต้องใช้ระยะเวลาปรับตัวสักพัก

แต่เพียงพอในระบบการเีรียนที่ต้่อเนื่องแบบนั้น คือสาธิต แล้ว สาธิตน่ะ มันมีแค่ 100 ที่นั่ง

เพราะฉะนั้น
หาทางเลือกไว้บ้าง......เถอะ ......ครับ

และถ้าเกิดเป็นเด็กปลายปียิ่งไปกันใหญ่

แต่ไม่ใช่จะมีปัญหาทั้งหมดนะครับ
มันขึ้นอยู่กับระบบการศึกษา ของโรงเรียนที่นำไปต่อด้วย

ลูกหมอพลอย ก็เด็กสิงหา ลูกผมก็สิงหา

ที่เขียนก็เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองลองพิจารณากันตอนอนุบาลครับ

เพราะเมื่อไร ตามกระแส เตรียมความพร้อมตอนเล็ก

คุณสนุกสดชื่น 3 ปี อาจจะทุกข์ตอน ป.1 ก็เป็นไปได้

ผมส่งลูกเรียนเตรียมความพร้อมแต่เล็ก เพราะ

ผมสอนบางส่วนที่ผมอยากสอนได้

เพราะฉะนั้น การที่ส่งลูกเรียนเตรียมความพร้อมนั้น

คุณทำหน้าที่หนักกว่าเดิมเยอะครับ

ยาวอีก เดี๋ยวต่อตอน 2 ดีกว่า ไม่ไปไหนอีกแล้ว

2

4 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

โอ้โห หน้าจอใหม่สวยมากค่ะ น่าอ่านและสดใสมากเลย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สวัสดีค่ะ

ขอแสดงความเห็นเรื่องเด็กที่เกิดช่วง 6 เดือนหลังของปี
ส่วนตัวคิดว่าเป็นเด็กที่คนเป็นพ่อเป็นแม่สามารถเลือกได้เวลาเลี้ยงว่าจะให้เรียนเร็วหรือเรียนรอเรียนตามเกณฑ์

เด็กๆ แต่ละคนมีพื้นฐานความพร้อม ความถนัดในแต่ละเรื่องที่แตกต่างกันที่ติดตัวมาอยู่แล้ว

การเตรียมเด็กของพ่อแม่มีผลในการช่วยส่งเสริมหรือดึงศักยภาพของเด็กออกมา


ยังไงพ่อแม่ก็ต้องมีใจที่เป็นเป็นกลางพอในการประเมินว่าเด็กพร้อมแค่ไหน

แล้วเลือกสิ่งที่คิดว่าเหมาะกับลูกของตัวเอง

เด็กถึงจะเรียนอย่างมีความสุข และพ่อแม่ก็สุขด้วย

ส่วนเด็กที่เกิดช่วงต้นปี ไม่มีทางเลือกยังไงก็ต้องเรียนตามเกณฑ์

VARAVEE กล่าวว่า...

ยังไงพ่อแม่ก็ต้องมีใจที่เป็นเป็นกลางพอ

เห็นด้วยเลยครับ

ตรงนี้ ผมเห็นบางครอบครัว ทำใจไม่ได้

หลายครอบครัวมากมาก

คือ ถ้าถามผมถ้าตกอยู่ในสถานการณ์นั้น ผมจะทำใจได้ไหม ผมก็ตอบว่า ไม่รู้สิ

บางครอบครัว ให้ลูกไปแค่เรียนรอ กับอีกโรงเรียน ตอน ป.1

แล้วก็ทำใจไม่ได้ พอนึกออกไหมครับ คือ มีบ่นมีว่า มีติ โรงเรียน อย่างนั้นอย่างนี้ก็มีว่าไม่ดีแบบนั้นแบบนี้

คือไม่พอใจ แต่ เขารับลูกเรียน ป.1 เพราะไม่มีโรงเรียนไหนรับ

บางครอบครัว
รนหาเรื่องอันนี้ก็มีให้เห็น


คือลูกอายุไม่ถึง แต่อยากให้ลูกเรียนโรงเรียนดีดีไปซะเลย ก็เสีย ค่าใช้จ่ายเพิ่ม เสีย แป๊ะเจี๊ย เยอะแยะ

เสร็จแล้ว เข้าไป ช๊อค เพราะ คาดไม่ถึงว่า โรงเรียนแนววิชาการ เป็นอย่างไร

โรงเรียนแนววิชาการ เขาจดการบ้าน เขียนหนังสือกันเป็นตั้งแต่ อ.3

พอ ป.1 เขียนหนังสือยังไม่คล่อง ก็ทำใจลำบาก ที่ลูกจะอยู่รั้งท้ายของห้อง


แต่ลูกเรียน เตรียมความพร้อมมา แบบพ่อแม่สมัยใหม่ทั้งหลาย ที่ต้องการเห็นลูกมีความสุข

ทุกข์มาเยือนเลยทันที กลายเป็นวิตกจริตทั้งครอบครัวก็มีให้เห็น

โรงเรียนเตรียมความพร้อม อนุบาล มีเด็กอยู่ในห้อง 10-15 คน

โรงเรียนลูกตอน ป.1 ซัดไปซะ 40-50 คน

ลูกก็ทุกข์ พ่อแม่ก็ทุกข์

เพราะฉะนั้น ผมมักจะแนะนำคนที่เลือกโรงเรียนตอนอนุบาล ว่า เลือกให้มีทางเลือกหน่อย

จะแบบเตรียมพร้อมเข้า สาธิต กันตอน อ.1

แล้ว อ.3 ทำไง แล้วถ้าเขาเข้าสาธิตไม่ติดคุณทำไง

บางครอบครัว เตรียมพร้อมมาขนาด หมดเป็น แสน

แต่นะ บางทีเก่งในโรงเรียนกฌไปสอบไม่ติด เพราะ เขารับ 100 คนเอง

และก็ไม่ใช่ลูกไม่เก่งอีก เก่ง เพียงพอพร้อมจะขึ้น ป.1 ไหม เพียงพอ แต่ไม่เพียงพอใน โรงเรียน ในทางตรงข้าม คือ แคทอลิค หรือถ้าเข้าเรียนแล้ว ก็คงต้องใช้ระยะเวลาปรับตัวสักพัก

แต่เพียงพอในระบบการเีรียนที่ต้่อเนื่องแบบนั้น คือสาธิต แล้ว สาธิตน่ะ มันมีแค่ 100 ที่นั่ง

เพราะฉะนั้น
หาทางเลือกไว้บ้าง......เถอะ ......ครับ


และถ้าเกิดเป็นเด็กปลายปียิ่งไปกันใหญ่

แต่ไม่ใช่จะมีปัญหาทั้งหมดนะครับ
มันขึ้นอยู่กับระบบการศึกษา ของโรงเรียนที่นำไปต่อด้วย

ลูกหมอพลอย ก็เด็กสิงหา ลูกผมก็สิงหา

ที่เขียนก็เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองลองพิจารณากันตอนอนุบาลครับ

เพราะเมื่อไร ตามกระแส เตรียมความพร้อมตอนเล็ก

คุณสนุกสดชื่น 3 ปี อาจจะทุกข์ตอน ป.1 ก็เป็นไปได้

ผมส่งลูกเรียนเตรียมความพร้อมแต่เล็ก เพราะ

ผมสอนบางส่วนที่ผมอยากสอนได้

เพราะฉะนั้น การที่ส่งลูกเรียนเตรียมความพร้อมนั้น

คุณทำหน้าที่หนักกว่าเดิมเยอะครับ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

เห็นด้วยกับพ่อธีร์ในประเด็นนี้ค่ะ ดิฉันไม่ทันคิดมาก่อนว่า การที่ให้ลูกเรียนแนวเตรียมความพร้อมตอนอนุบาล พ่อแม่ต้องทำงานหนักในการสอนเสริม หรือ สร้างวินัย ปูพื้นความรู้ต่างๆ ยกเว้นพ่อแม่ที่ให้ลูกเรียนแนวนี้ไปจนโต เหมือนพวกวอล์ดอร์ฟ จะมีไปจนระดับมัธยมแล้ว ดิฉันเชื่อว่าเด็กส่วนใหญ่ ต้องไปต่อแนววิชาการ เพราะมีโรงเรียนที่สอนแนวดั้งเดิมนี้เต็มประเทศไปหมด ดังนั้น การอัดด้านวิชาการคงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงยาก

สำหรับดิฉันหาทางเลือกไว้หลายทางค่ะ หากยังอยู่ฮานอย ลูกก็เรียนแนวนี้ไป ดิฉันทำโฮมสคูลเน้นเรื่องภาษาไทย และการเล่นแบบที่พ่อธีร์แนะนำ และของ Charlotte Mason ด้วย ผสมกัน หากต้องย้ายไปเมืองไทย ก็คงเลือกแนวอินเตอร์ หากจ่ายไหว ถ้าไม่ไหว ก็คงเป็นแนวทางเลือก โรงเรียนไม่ต้องดังมากก็ได้ และเรียนโฮมสคูลต่อเหมือนเดิม

ดิฉันไม่คิดจะให้ลูกไปเรียนแนววิชาการ เพราะเกรงว่า ตอนดิฉันตายไป ลูกอาจจะยังช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องเปลี่ยนชนิดของเครื่องยนต์ จากใช้เครื่องดีเซล ไปเป็นพลังนิวเคลียร์ค่ะ ไม่งั้นลูกลำบากแน่ เพราะพ่อแม่แก่แล้ว เขายังไม่โตเลย

อยากเรียนเชิญพ่อธีร์ไปอ่าน กระทู้ใหม่ของดิฉัน เรื่องของเทคนิคการเีรียนเก่ง มีบางอย่างที่ดิฉันอยากสื้อถึงพ่อธีร์ อยากได้ความเห็นด้วย และอาจจะจุดประกายอะไรบางอย่างให้พ่อธีร์ได้ เรียนเชิญนะคะ ถ้าว่าง

http://board.raklukefamilygroup.com/viewtopic.php?t=396153&start=0&sid=37c32a8674b61956c8a8ebc6fb80790f

แสดงความคิดเห็น

Subscribe