8/29/2551 09:27:00 ก่อนเที่ยง

ก่อนเข้าสู่บทเรียนต่อไปนะครับ

เขียนโดย VARAVEE |

ก่อนอื่น คงต้องบอกนะครับ ผมไม่ได้เห็นด้วยกับการที่ใครเอะอะก็เอาลูกเรียนเตรียมความพร้อม เพราะเป็นกระแส และผมก็ไม่ได้อยากให้เอาลูกเร่งเรียนขึ้นไปเพราะเป็นกระแส

ผมไม่ได้ต่อต้านการเรียนพิเศษสำหรับเด็กไม่เก่ง แต่ผมต่อต้านการเรียนพิเศษแบบในห้องเรียนเดี๋ยวนี้เห็นทำกัน แถวสยาม บางห้องเชื่อไหมเรานั่งมองแล้วเรา งง ว่า นี่เด็ก ม.1-2 นะ มาเรียน ม.4 ทำไมนี่ แค่นะเราก็คงไม่ถาม เพราะเด็กและพ่อแม่ก็คงจะมีความหวังและฝัน

กลายเป็น ห้องเรียนพิเศษ ต่อไปคงจะต้องมีจัดห้อง King ห้อง Gifted อีก ละมั๊ง

(แล้วไม่ต้องมาถามผมว่า เรียนพิเศษที่ไหนดี ผมไม่รู้นะครับ แล้วไม่ต้องถามว่าผมรับสอนไหม ผมไม่สอนมานานมากมากแล้ว และไม่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับการศึกษาอยู่เลย มีแต่เพื่อน ซึ่งไม่แนะนำอีก เพราะ มันน่าจะรวยพอแล้ว แต่ถ้าใครถามเรื่องกีฬา อันนี้พอตอบให้ได้ ถ้าอยู่แถบ รามอินทรา ถ้าใครถามเรื่อง การฟิตร่างกายเพื่อสอบ เตรียมทหาร หรือเข้าค่ายเพื่อสอบ เข้าเตรียมทหารอันนี้ตอบให้ได้ นอกนั้นอย่ามาถามครับ ไม่มีคำตอบเด็ดขาดเพราะขนาดลูกเพื่อน ผมยังไม่สอนเลย)

 

==============================

ไม่บ่นดีกว่า เพราะจริงๆแล้ว ประเทศไทย เรียนคณิตศาสตร์ น้อยไปจริงๆ นะครับ นี่พูดโดยส่วนรวมนะครับ ว่าน้อยไป ทำให้ สมองมันมีที่ว่างเหลืออยู่

แต่ไปจัดมันซะทุกวิชา จนผมงง ไปหมด ว่าจะเรียนอะไรกันเยอะแยะหว่า เด็ก ป.1 บางโรงเรียน ภาษาไทย เรียน กาพย์ยานี 11 แล้ว เด็ก ป.1 นี่ ต้อง เรียน เศรษฐศาสตร์แล้ว คือเรียนไปหมดเลย

เวลาเรียนมันเลยไม่เหลือที่ให้วิชา คณิตศาสตร์ สำหรับคนเก่งก็เลย ถูกความจำเป็นให้ ใช้เวลา ที่มีเพื่อไปเล่นกีฬา สันทนาการอย่างอื่น มาจับเรียนเลขซะ ในตอนเย็น

เพื่อความเข้าใจนะครับ บทนี้อาจดูวิชาการ หน่อย บางคน มักบอกว่าผมเร่งเรียนบ้าง หรือบางคนบอกว่า ผมปล่อยลูกบ้างเพราะทำไมเวลาว่างทำนั่นทำนี่เยอะจังเลย บางคนเริ่ม งง งง ว่าผมเป็นอย่างไรหว่า

อย่าเดาเลยครับ ผมบอกแล้วไงผมไม่ต้องการให้ลูกได้เหรียญ แต่แค่ต้องการไม่ให้เขาหลุดมาตรฐาน ไปก่อนวันอันควร ถ้าลูกผมอยากเป็นหมอ หรืออยากสอบแข่งขัน ลูกผมก็ต้องมีพื้นฐานไว้สู้กับคนประเภท 1-500 คนแรกได้ก็เท่านั้น

 

=====================

เรามามองนี่กันครับ เป็นข้อมูลเพื่อ บ่งชี้อะไรบางอย่าง

เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิของนักเรียนข้ามประเทศ ก็จำเป็นต้องเปรียบเทียบตัวแปรที่เป็น
ส่วนของระบบการศึกษาด้วย เป็นต้นว่าการใช้หลักสูตรการวัดผล เวลาเรียน ค่าใช้จ่ายการศึกษา ครูผู้สอน
ตลอดจนการส่งเสริมสนับสนุนที่ครูได้รับในขณะใช้หลักสูตร ฯลฯ ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านั้น TIMSS
มีการเก็บและวิเคราะห์ไว้ด้วย ในที่นี้จะเปรียบเทียบกับมาเลเซียและสิงคโปร์ และจะมองไปที่สิงคโปร์
มากกว่า เพราะมีคะแนนสูงมาก เพราะจะได้ศึกษาปัจจัยที่ชี้แนะหรือให้คำอธิบายสาเหตุที่ทำให้การเรียน
การสอนมีคุณภาพ เพื่อที่จะชี้ให้เห็นถึงจุดที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข เพื่อทำให้ผลการศึกษาคณิตศาสตร์ของ
ไทยมีคุณภาพขึ้น

เวลาการเรียนคณิตศาสตร์
เวลาเรียนตามหลักสูตรของประเทศต่าง ๆ นอกจากจะบอกให้ทราบเวลาที่ให้เรียนวิชาหนึ่ง ๆ แล้ว
ยังสะท้อนให้เห็นถึงการเน้นให้ลำดับความสำคัญของวิชานั้นๆ ในหลักสูตรการเรียนการสอน
ของระบบการศึกษา เวลาเรียนคณิตศาสตร์ (คิดเป็นร้อยละของเวลาเรียนทั้งหมด) แสดงในตาราง 6

1

เห็นอะไรไหมครับ มันไม่พอ เมื่อมันไม่พอ เด็กก็ต้องวิ่งออกจากห้องเรียน ไปหาเอ่าข้างนอก พ่อแม่ก็คิดว่าไม่พอ

และสังเกต 6 ปีแรก เขาใส่เข้าไป เต็มที่ เลย

การใส่แบบนี้ มันต้องมีจุดหมายที่ชัดเจนนะครับ

 

เวลาที่ให้เรียนเป็นตัวแปรสำคัญตัวหนึ่งที่สามารถอธิบายความแตกต่างของคุณภาพของนักเรียน
เมื่อต้องเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ซึ่งบางครั้งเป็นการเปรียบเทียบที่เปรียบเทียบกันไม่ได้เพราะเด็กได้รับการปฏิบัติ (ภาษาวิจัยเรียกว่า Treatment) ต่างกัน


ในขณะที่ประเทศอื่นเน้นความสำคัญของวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งสะท้อนออกมาจากปริมาณเวลาเรียนที่จัดให้ สิงคโปร์เน้นคณิตศาสตร์มากที่สุดในระดับประถม นักเรียนต้องเรียนทุกวันวันละมากกว่าหนึ่งชั่วโมง

เพราะสิงคโปร์เชื่อว่าการฝึกสมองเด็กเรื่องการคิดคำนวณ ในเยาว์วัยเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการวางพื้นฐานคณิตศาสตร์

แต่นักเรียนไทยในระดับประถม เน้นคณิตศาสตร์น้อยมาก อาจกล่าวได้ว่าน้อยกว่าวิชาอื่น ๆ และเมื่อขึ้นมาเรียนในชั้นมัธยมศึกษา เวลาเรียนก็ยังคงที่เหมือนเดิม และประเทศไทยมีเวลาเรียนต่ำที่สุดไม่เฉพาะในภูมิภาคนี้เท่านั้น แต่นับรวมทั้งทุกประเทศใน TIMSS-R ทั้งหมด 48 ประเทศแล้ว (ประเทศอื่นที่มีเวลาเรียนต่ำเป็นที่สองยังมีเวลาเรียน 12%)

เมื่อเราเห็นดังนี้ แทนที่เราจะไปลดอันอื่นที่ไม่สำคัญ คือมันสำคัญหมดละนะ แต่ บางอย่างมันต้องเกิดวุฒิภาวะ ด้วย

ยกตัวอย่าง ผมจะมีความจำเป็นอะไรที่จะต้องรู้ว่า พระอาจารย์คนแรก ของพระพุทธเจ้า ชื่อว่าอะไรในตอน ป.1  หรือผมจะมีความจำเป็นแค่ไหน ที่ต้องรู้ว่า การเขียนกลอนแบบนี้เรียกว่ากลอน 8 หรือกาพย์ยานี 11ในตอน ป.1

เห็นไหมครับ

ทุกคนมองความจำเป็นต่างกัน ทัศนคติต่างกัน เมื่อเอะอะอะไรก็จำเป็นหมด การใส่ลงมาในทุกทุกวิชา มันก็เลยเต็มไปหมด

จะบอกว่า นี่แหละคือการบริหารเวลา ของ ครู ที่ไม่มีประสิทธิภาพ ก็ว่าได้ คือ ครูทุกคนต่างต้องเร่งสร้างผลงาน คือจะปล่อยให้วิชาไหนเด่น ขึ้นมาไม่ได้

 

จุดเน้นของการเรียนการสอน

 

จุดเน้นของการเรียนการสอน
ขนาดของชั้นเรียน ทั้งไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ต่างก็มีขนาดใหญ่กว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ
(ซึ่งเท่ากับ 31 คน/ชั้น) แม้ว่าสิงคโปร์ และมาเลเซีย จะมีขนาดเฉลี่ย 37 และ 38 ตามลำดับ แต่ของไทย
มีขนาด 42 คน/ชั้น ก็ไม่อาจถือว่าเป็นตัวแปรที่ต่างกัน แต่ตัวแปรที่สำคัญน่าจะอยู่ที่การเน้นในกิจกรรม
การเรียนการสอนมากกว่า

1

==================================

เวลาเรียน น้อยกว่า จุดมุ่งหมายในการเน้น ต่ำกว่า นั่นทำให้ พ่อแม่ ผปค ที่ พอมีความรู้หน่อย เกิดความไม่เชื่อมั่น

พอเกิดความไม่เชื่อมั่น ก็เลยเรียนเพิ่ม พอเรียนเพิ่ม มันก็เลยเกินชั้นปี เพราะมันต้องเป็นอย่างนั้น

ทั้งๆที่ มันไม่มีทางเกินได้เลย ถ้าจุดเน้น เท่าๆกัน

เพราะถ้ามองจากการจัดเวลา โดยรอบ ก็คือ

ประเทศไทย ต่ำที่สุด เรื่องเวลาเรียนเลข ของประเทศในกลุ่มทั่วโลก คือ 8 % และน่าตกใจเป็นอย่างมาก ที่เราห่างจาก อันดับ 2 ในการจัดเวลาเรียน คือ 12 %. ห่างกัน 4 % นี่เยอะนะครับ

ส่วนที่สูง ก็จะอยู่ที่ 20-22 %.

นั่นคือ เขาเรียน เลข กันวันละ 2 ชม. หรือประมาณ 2 คาบ

คุณเห็นอะไรบ้างไหมครับ จากข้อมูลข้างบนที่อ่านมา ก่อนอ่านตอนต่อ นะครับ

นั่นทำให้เด็ก เรามักจะใช้วิธีการแก้ปัญหา กับโจทย์เลข ด้วยวิธีการที่สูงกว่า คือเรา ใช้วิธี ใส่ กลยุทธ ที่ 8 ชม.ให้เด็ก แต่ไม่ใส่การวิเคราะห์ไว้ เพราะหมดเวลาก่อน และจะวิ่งไล่ล่า กลยุทธ ทางคณิตศาสตร์ เอา ความรู้ ป.6 มาแก้โจทย์ ป.3 ความรู้ ม.3 แก้โจทย์ ป.6 ความรู้ ปริญญา แก้โจทย์ ม.6

จากข้อมูลแสดงให้เห็นอย่างหนึ่งว่า การบ่มเพาะ กับความรู้ในช่วงปี มันไม่มาไงครับ เพราะเรามี น้อยสุด คือ 1 คาบ

เห็นความต่างไหมครับ นั่นทำให้ จัดเวลาไม่ได้เลย

หนังสือเรียนเขาก็ไม่ต่างจากเรา ครูก็ไม่ต่างกันมากมาย แต่ต่างกัน เวลาก็มีเท่ากัน แต่จัดไว้ไม่เท่ากัน การจัดการเวลาเหมือนไม่ได้

 

โดยเรื่อง เวลาและ การบ่ม ให้อยู่กับแบบฝึกหัดนั้นๆ โดยสามารถเสียเวลาได้ เสียเวลาคิดได้ เพราะมีเวลาเรียน มากกว่าถึง 2 เท่าครึ่ง ในประเทศ สิงคโปร์ คือ 2 คาบ และด้วยเวลานั่นเอง

ทำให้เขาสามารถ ทิ้งช่วงเวลาให้เด็กคิดได้ คือ สมมติว่า ในห้องเรียน จัด วอรม์ ด้วยเลข 100 ช่อง แบบ ที่ โรงเรียนประถมในญี่ปุ่นทำ ใช้เวลา 15-20 นาทีในการเตรียมตัวเข้าบทเรียน ให้เด็ก Alert ว่าถึงเวลาคิดของเขาแล้วนะ

ไทยทำไม่ได้ครับ เพราะ หมดเวลาแล้ว

ไทยทำได้ ก็แค่ เอาไม้เคาะโต๊ะ เสียงดังๆ 5 6 ที แล้วบอกว่า พร้อมหรือยัง แค่นั้นครับ

 

เห็นอะไรไหมครับ เมื่อ ต้องการเวลา เป็น 2 คาบ เด็กก็เลยมาเรียนเย็นแทนที่โรงเรียน แต่………แต่…..นะครับ

กลายเป็น ที่เรียนที่โรงเรียน แทยที่จะเป็นการบ่ม แต่กลายเป็น เรียนเพื่อแข่งเอาชื่อเสียงกลับมาให้โรงเรียน ด้วยความหวังของครู

ตรงนี้ต่างหาก ที่ผมมักมองว่าผิด เพราะมันไม่เป็นไปตามธรรมชาติเลย

เพราะจุดเริ่มมันไม่ได้อยู่ที่เด็ก มันผิดตั้งแต่คัดตัวแล้วผิดตั้งแต่ครูต้องการชื่อเสียงให้โรงเรียนแล้ว

 

มันผิดตรงนั้น มากกว่า มันไม่ได้ผืด ถ้าเวลาไม่พอแล้วใส่เพิ่ม ใส่เพิ่มให้พอเหมาะ ใส่เพิ้มให้ สมดุลย์ ใส่เพิ่มให้บ่มเพาะขึ้นมา

และเมื่อใส่ ถึงขนาดนั้นแล้ว ก็เลยไม่จำเป็นต้องใส่เพิ่มที่บ้านแล้วไงครับ

เพราะถ้าโรงเรียนใส่มา 2 ชม. มาที่บ้านจับอีก 1 ชม. ตายพอดีแบบนี้

ลองนึกเป็นว่ายน้ำนะครับ

 

วันปกติ จะว่ายอยู่แล้ว 1 ชม หรือแระมาณ 1 กิโล พอใกล้แข่ง จะขยับมา เป็น 2 ชม.

 

คราวนี้ ถ้าที่บ้านมีสระ แล้วเราจับมาว่ายรอบ 1 ทุ่ม อีก 1 ชม. ตายพอดีครับ

ชนะก็อยากชนะแต่พอดี ดีกว่า

 

 2

 

 

 

การศึกษานี้ไม่ค่อยเป็นที่สนใจของสังคมไทยครับ ตรงกันข้ามกับข่าวการศึกษาที่คนไทยให้ความสนใจมากคือ การแข่งขันวิทยาศาสตร์ โอลิมปิก ซึ่งไม่ใช่การประเมินผลการจัดการการศึกษาวิทยาศาสตร์ของประเทศ แต่เป็นการแข่งขันระหว่างคนเก่งของประเทศ โดยเลือกคนที่เก่งของประเทศไทยวิชาละ 4 -5 คน มาฝึกฝนแล้วส่งไปแข่งขันกัน เพื่อดูว่าคนเก่งของประเทศใดจะเก่งกว่ากันครับ

 

ส่วนการประเมินผลนานาชาติ TIMSS นั้นมีการประเมินผลการจัดการศึกษาในหลายตัวแปร ตั้งแต่ต้นหลักสูตร การเรียนการสอน การมีทรัพยากรโรงเรียนเพียงพอหรือไม่อย่างไร เวลาเรียนตลอดจนผลสัมฤทธิ์หรือคะแนนของนักเรียน

 

ดังนั้นผลการประเมินผลการศึกษาของ TIMSS แม้ว่าจะประเมินเพียงสองวิชา

 

แต่ในระดับโลกถือว่าเป็นตัวชี้บอกความสำเร็จของการจัดการศึกษาเลยครับ ดูไปแล้วเปรียบเสมือนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค การที่ประเทศไทยได้เหรียญทอง1-2 เหรียญ

 

ต่างจากการเป็นเจ้าเหรียญทองโดยสิ้นเชิงครับ ดังนั้นทุกประเทศในโลกจะภูมิใจที่ได้เป็นเจ้าเหรียญทอง และ

 

ความเป็นที่หนึ่งนี้ต่างหากคือตัวบ่งบอกประสิทธิภาพและความสำเร็จของวงการกีฬาในประเทศนั้นๆ ด้วยเหตุนี้ผลการศึกษาของ TIMSS จึงมีความหมาย และมักจะนำไปสู่การปรับปรุงหรือการปฏิรูปการศึกษาในหลายประเทศ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Subscribe